ท่วงทำนองทางภาษาในบทความของหนุ่มเมืองจันท์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาท่วงทำนองทางภาษาในการเขียนบทความของหนุ่มเมืองจันท์ และเพื่อศึกษากลวิธีการเขียนของ หนุ่มเมืองจันท์ โดยศึกษาจากบทความของหนุ่มเมืองจันท์ในคอลัมน์ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ระหว่างเดือนกันยายน 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559 จำนวนทั้งหมด 57 บทความ โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร และนำเสนองานวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ท่วงทำนองทางภาษาในการเขียนบทความของหนุ่มเมืองจันท์ ในด้านการใช้คำมักใช้คำที่เข้าใจง่าย ใช้คำน้อยแต่ความหมายมาก เช่น คำที่มีความหมายโดยตรง คำที่มีความหมายโดยนัย คำแสดงอารมณ์ คำนามธรรม คำเฉพาะกลุ่ม คำภาษาต่างประเทศ คำย่อ และคำเลียนเสียงพูด ด้านการใช้ประโยคมีการใช้ประโยคทั้ง 3 แบบ คือประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม และประโยคปฏิเสธ ด้านการใช้สำนวนพบว่าใช้สำนวน 2 ลักษณะ คือ สำนวนดั้งเดิมหรือสำนวนโบราณ และสำนวนใหม่ ด้านการใช้โวหารการเขียน พบว่ามีการใช้บรรยายโวหาร และสาธกโวหาร ด้านการใช้โวหารภาพพจน์พบว่า มีการใช้ภาพพจน์อุปมาและอุปลักษณ์
ส่วนด้านกลวิธีการเขียนบทความของหนุ่มเมืองจันท์ผู้วิจัยพบว่ามีวิธีการเขียนที่น่าสนใจทั้งสิ้น
4 ประเด็น ได้แก่ ด้านวิธีการตั้งชื่อเรื่อง ผู้เขียนนิยมวิธีการตั้งชื่อเรื่อง 7 ประเภท คือตั้งชื่อเรื่องโดยใช้แนวคิดสำคัญหรือแกน (Theme) ตั้งชื่อเรื่องให้คมคาย เก๋ แปลก สะดุดใจ ชวนฉงนสนเท่ห์ ตั้งชื่อแบบเปรียบเทียบ ตั้งชื่อเรื่องตรง ๆ ตามเนื้อหาสาระ ตั้งชื่อเรื่องเป็นนามธรรม ตั้งชื่อตามตัวเอกหรือตัวสำคัญของเรื่อง
และตั้งชื่อเรื่องให้ขัดแย้งกัน ด้านกลวิธีการเขียนส่วนนำ ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเขียนส่วนนำที่เป็นเรื่องเล่ามากที่สุด ด้านกลวิธีการเขียนเนื้อเรื่อง ผู้เขียนมีกลวิธีในการเขียนเนื้อเรื่องที่น่าสนใจและนิยมใช้
อย่างสม่ำเสมอ 2 ประเภท โดยใช้การเขียนขยายความด้วยการบรรยายและขยายความด้วยการยกตัวอย่าง
ด้านกลวิธีการเขียนสรุปความ ผู้เขียนนิยมใช้กลวิธีการเขียนบทสรุปแบบทิ้งท้าย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กำพล จันทะกุล. (2550). ลีลาการเขียนและกลวิธีการนำเสนอบทวิจารณ์ภาพยนตร์. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
กิตติชัย พินโน, อมรชัย คหกิจโกศล, อรุณี อัตตนาถวงษ์ และ อาภาโสม ฉายแสงจันทร์. (2554). ภาษากับการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จารุวรรณ พุฑฒิบัณฑิต. (2543). ภาษาไทย 1. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
ชไมพร ฉายเหมือนวงค์. (2549). ลีลาภาษาในงานเขียนของวาณิช จรุงกิจอนันต์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2522). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
ชุมสาย สุวรรณชมพู. (2540). การอ่านบันเทิงคดีในภาษากับการสื่อสาร (ฉบับปรับปรุง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นภาลัย สุวรรณธาดา, ธิดา โมสิกรัตน์ และสุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนผลงานวิชาการและบทความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
นวลวรรณ พลังคะพันธ์พงศ์. (2541). วิเคราะห์ภาษาในนิตยสารบันเทิง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรมาพร สว่างแก้ว. (2556). ลีลาภาษาของ คำ ผกาในบทความทางการเมือง ที่ตีพิมพ์ลงในมติชนสุดสัปดาห์ พ.ศ. 2554 -2553. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
พรทิพย์ ภัทรนาวิก. (2542). การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2526). ความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์ 3 ชนิดกับการรวมตำแหน่งวลีในประโยค ภาษาไทย ศาสตร์แห่งภาษา ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรพัสุ สร้อยระย้า. (2542). การวิเคราะห์ภาษาในงานเขียนสารคดีของมนันยา. กรุงเทพฯ: ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโนฒ.
เรนู รอดทัพ. (2550). ลีลาการใช้ภาษาในงานเขียนของพัชรศรี เบญจมาศในเนชั่นสุดสัปดาห์ ระหว่างปี 2545-2548. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระยาอนุมานราชธน. (2531). การศึกษาวรรณคดีในแง่วรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.