หลักธรรมและกลวิธีการใช้ภาษาในคอลัมน์ “จุดไฟในใจคน” ของหลวงพี่น้ำฝน

Main Article Content

ปวรรัตน์ แดงไฟ
นราวัลย์ พูลพิพัฒน์
ศรีวิไล พลมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมและกลวิธีการใช้ภาษาในคอลัมน์ “จุดไฟในใจคน” ของหลวงพี่น้ำฝน จากบทความในนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ระหว่างเดือนกันยายน 2558 ถึง เดือนกันยายน 2559 จำนวนทั้งหมด 57 บทความ โดยใช้เครื่องมือในงานวิจัยคือ แบบบันทึกหลักธรรม แบบบันทึกกลวิธีการใช้ภาษาและพรรณนาวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่าหลักธรรมและกลวิธีการใช้ภาษาในคอลัมน์ “จุดไฟในใจคน” ของหลวงพี่น้ำฝน มีการใช้หลักธรรม 3 ประการ ได้แก่ 1) หลักธรรมต่อตนเอง ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา อิทธิบาท 4 สัปปุริสธรรม 7 2) หลักธรรมต่อผู้อื่น ประกอบด้วย พรหมวิหาร 4 ทิศ 6 สังคหวัตถุ 4 และ 3) หลักธรรมต่อสังคม ประกอบด้วย จิตสาธารณะ จิตที่คิดสร้างสรรค์เป็นกุศลและมุ่งทำกรรมดีที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คิดสร้างสรรค์ และหลักธรรมาธิปไตย ส่วนกลวิธีการใช้ภาษา ได้แก่ ระดับของภาษา ประกอบด้วยภาษาปาก ภาษากึ่งแบบแผน และภาษาทางการ สำหรับการใช้คำ ประกอบด้วยใช้คำที่มีความหมายโดยตรง คำแสดงอารมณ์ คำรูปธรรม คำนาม คำภาษาปาก คำที่มีความหมายโดยนัย และคำภาษาต่างประเทศ ส่วนการใช้สำนวนโวหาร ประกอบด้วย บรรยายโวหาร เทศนาโวหาร สาธกโวหาร และการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ การใช้ภาพพจน์อุปมาและอุปลักษณ์ หลวงพี่น้ำฝนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่หลักธรรมคำสอนให้ผู้คนสนใจนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของตนตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิต นำหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาชี้แจงให้ชาวพุทธมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนพร้อมกับนำไปปฏิบัติให้เกิดความสุขกายและสุขใจในการดำเนินชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส และวิพุธ โสภวงศ์. (2524). แบบเรียนภาษาไทย ท 041:1. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ช่อฟ้า เกตุเรืองโรจน์. (2554). กระบวนการและกลวิธีการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดพุทธธรรมในหนังสือธรรมะของท่าน ว.วชิรเมธี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2522). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.

ดลหทัย พิมทะโนทัย. (2547). วิเคราะห์ลีลาการเขียนบทความของแม่ลูกจันทร์ในคอลัมน์สำนักข่าวหัวเขียวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ).

บุญชู กิตติสาโร. (2554). ศึกษาหลักธรรม คุณค่าและการใช้ภาษาในวรรณกรรมคำสอนของพระพุทธพจน์ (จันทร์ กุสโล). (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

พระธรรมปิฎก ประยุทธ์ ปยุต̣โต. (2542). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. (2530). อุดมการณ์สร้างสรรค์แผ่นดินไทยให้เป็นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง. กรุงเทพฯ: โมเดอร์นเพรส.

วรภาส ประสมสุข. (2549). หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธธรรม. (วิทยานิพนธ์การศึกษามดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สุวัฒน์ จันทร์จำนง. (2540). ความเชื่อของมนุษย์เกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

สุชาติ พิบูลย์วรศักดิ์. (2547). องค์ประกอบกลวิธีการโน้มน้าวใจในปริจเฉทการเขียนของพระพยอม กัลยาโณ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2522). การเขียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.