เทพเจ้าในวรรณคดีไทย: บทบาทในฐานะผู้สร้างและผู้ทำลาย

Main Article Content

นราวัลย์ พูลพิพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและบุคลิกลักษณะของเทพเจ้าในวรรณคดีไทย
และเพื่อวิเคราะห์บทบาทของเทพเจ้าในฐานะผู้สร้างและผู้ทำลาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วรรณคดีไทยที่มีตัวละครเกี่ยวกับเทพเจ้า รวม 4 เรื่อง คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บ่อเกิดรามเกียรติ์กับลิลิตนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และอิลราช
คำฉันท์ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อความที่แสดงถึงพฤติกรรมของเทพเจ้าทั้งสาม และแบบวิเคราะห์พฤติกรรมของเทพเจ้าทั้งสามว่าเป็นผู้สร้างหรือผู้ทำลายในลักษณะใด


ผลการวิจัยพบว่า พระพรหมปรากฏเป็นรูปเทพเจ้า มีสี่พักตร์ สี่กร มีกายสีแดง เป็นผู้มีพระทัยดี มีความเมตตากรุณา เป็นที่นับถือทั่วไป พระอิศวรปรากฏรูปเป็นโยคี มีพักตร์เดียว อาจมี 2 กร ถึง 10 กร มีกายสีขาว
พระอิศวรมีพระทัยดีแต่มักหลงคำเยินยอ ผู้ใดบวงสรวงบูชาก็จะเอ่ยปากให้พรโดยง่าย  พระนารายณ์ ปรากฏรูปเป็นเทพบุตร มีพักตร์เดียว มี 4 กร สีกายของพระนารายณ์เปลี่ยนได้ตามยุคต่าง ๆ พระนารายณ์ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองรักษาโลก  มีอำนาจมาก


พระพรหมมีบทบาทในการเป็นผู้สร้าง การเป็นผู้วางเฉย การเป็นผู้รู้จักประมาณตน การเป็นผู้เสียสละ
การเป็นผู้มีเมตตา และการเป็นผู้ให้ พระอิศวรมีบทบาทในการเป็นผู้ให้ การเป็นผู้รับผิดชอบ การเป็นนักวางแผน
การเป็นคนชอบล้อเล่น การเป็นผู้มีอารมณ์โกรธง่าย การเป็นผู้รักษาสัญญา การเป็นผู้ชอบคำเยินยอหรืออามิสสินจ้าง การเป็นผู้ประสานสัมพันธ์ พระนารายณ์ มีบทบาทในการเป็นผู้ปราบทุกข์เข็ญ การเป็นผู้รับใช้ การเป็นผู้มีกลอุบาย การเป็นผู้ให้อภัย  การเป็นผู้รักเกียรติตัวเอง การเป็นผู้ไม่มีเหตุผล


บทบาทของเทพเจ้าทั้งสามในฐานะผู้สร้างและผู้ทำลาย เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสิทธิและสถานภาพที่เป็นอยู่ โดยความเชื่อและการรับรู้ของสังคมที่กล่าวว่า พระพรหมทำหน้าที่เป็นพระผู้สร้าง พระอิศวรทำหน้าที่ผู้ทำลาย และพระนารายณ์ทำหน้าที่ปกปักรักษาคุ้มครองโลก ส่วนบทบาทอื่นที่ได้จากการวิเคราะห์ เป็นบทบาทที่ปฏิบัติจริง ซึ่งมีทั้งสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับบทบาทที่บุคคลเชื่อหรือรับรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา. (2519). พระอินทร์ในวรรณคดีสันสกฤต บาลี และวรรณคดีไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา. (2525). พื้นฐานการอ่านวรรณคดีไทย. เชียงใหม่: วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

ขนิษฐา ทองนพคุณ. (2551). ความเชื่อของชาวพุทธที่มีต่อเทพสตรีของชาวฮินดู ศึกษากรณี: วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก). (สารนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต, วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล).

ธนากิต. (2546). ตำนานเทพเจ้าและอสูร. กรุงเทพฯ: ปิรามิด.

ธีระนันท์ วิชัยดิษฐ์ และปรีดี พิศภูมิวิถี. (2558). คติความเชื่อเรื่องพระศิวะในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(41), 157-176.

นงคราญ สุขสม. (2561). ถอดรหัสพระเจ้าฮินดู. กรุงเทพฯ: พระรามครีเอชั่น.

ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล. (2559). คำสาปแช่งในวรรณคดีไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา).

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก. (2553). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เล่ม 1-4. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2514ก). บ่อเกิดรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2514ข). ลิลิตนารายณ์สิบปาง. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2556). เทพเจ้าและสิ่งน่ารู้. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

พระมหาบุญทัน ธีรงกุโรทัน. (2558). ศึกษาเปรียบเทียบตรีมูรติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกับตรีกายในพุทธศาสนามหายาน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์). (2526). อิลราชคำฉันท์. (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

พระยาสัจจาภิรมย์ฯ (สรวง ศรีเพ็ญ). (2556). เทวกำเนิด. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2542). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สงวนศรี วิรัชชัย. (2543). จิตวิทยาสังคมเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศึกษาพร.

สาลิกา หาญพานิชย์. (2556). การศึกษาวิเคราะห์พระพรหมในศาสนาพราหมณ์ตามทัศนะพระพุทศาสนาเถรวาท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.