การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนกับสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนจีนกับสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแหล่งที่มา ความหมาย เจตนาการใช้ระหว่างสำนวนจีนกับสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสี และเพื่อศึกษาความเหมือนและความแตกต่างในด้านลักษณะการใช้และภาพสะท้อนจากสำนวนจีนกับสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสี ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลแหล่งที่มา ความหมาย เจตนาการใช้ และภาพสะท้อนจากลักษณะการใช้สำนวนของสำนวนจีนกับสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หนังสือ ตำรา เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พจนานุกรมสำนวนจีน พจนานุกรมจีน-ไทย สำนวนไทย เป็นหลักในการพิจารณา และผู้วิจัยใช้ความรู้ของตนและอาจารย์เจ้าของภาษา จากการศึกษาได้รวบรวมสำนวนจีน 124 สำนวน และสำนวนไทย 92 สำนวน แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สำนวนจีนที่เกี่ยวกับสีมีแหล่งที่มา 6 แหล่ง ส่วนของสำนวนไทยมีแหล่งที่มา 12 แหล่ง สำนวนจีนที่เกี่ยวกับสีส่วนใหญ่มาจากวรรณกรรมโบราณ ส่วนสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสีส่วนใหญ่ที่มาจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความเชื่อทางศาสนา ความหมายของสำนวนจีนและสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสีมีทั้งความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย ส่วนอารมณ์ของสำนวนนั้น สำนวนจีนที่เกี่ยวกับสีแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ เชิงบวก เชิงลบ และความเป็นกลาง ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ส่วนสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสีมีเพียง 3 ประเภท คือ เชิงบวก เชิงลบ และความเป็นกลาง ไม่มีที่มีความหมายทั้งเชิงบวกและลบ สำหรับเจตนาการใช้ทั้งสำนวนจีนและสำนวนไทยที่เกี่ยวกับสีมีลักษณะเหมือนกัน 5 ลักษณะ คือ สำนวนที่บ่งบอกเจตนาตำหนิ ตักเตือน แสดงความเห็น ชื่นชม และประชดประชัน ภาพสะท้อนจากลักษณะการใช้สำนวนนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่คือ สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมในด้านสิ่งแวดล้อมของทั้งสองประเทศ ซึ่งภูมิประเทศและภูมิอากาศมีความต่างกัน อีกประเภทหนึ่งคือสะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของวัฒนธรรมทั้งสองชนชาติในด้านวิถีชีวิต อาชีพ ทัศนคติ ค่านิยม และอวัยวะของมนุษย์ ฯลฯ เนื่องด้วยทั้งจีนและไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมเช่นเดียวกัน แต่ถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อมต่างกัน จึงทำให้วัฒนธรรมของทั้งสองประเทศมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างไปด้วย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2545). สำนวนไทย หนังสืออ้างอิงระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์). (2543). สำนวนไทย. กรุงเทพฯ: โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ฉิน, หยงลิน. (2526). สำนวนจีนและสำนวนไทย: การศึกษาเปรียบเทียบ. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วนิดา ตั้งเทียนชัย. (2550). สำนวนจีน: โครงสร้างทางภาษาและเจตนาการใช้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุนันท์ อัญชลีนุกูล. (2543). คำพังเพย: รูปภาษาและเจตนาการใช้. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 17, 145-155.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Idiom Dictionary Editorial Board. (2015). Dictionary of idioms (成语大词典). Beijing: Commercial Press Co., Ltd.
Li, H. (2550). An analysis of the meaning of color words in modern Chinese (现代汉语颜色词语义分析). Bei Jing: Commercial Press Co., Ltd.
Rao, R. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบสำนวนไทยที่มีคำว่า “หัว” กับสำนวนจีนที่มีความหมายตรงกันหรือคล้ายคลึงกัน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).