วิเคราะห์เปรียบเทียบนวนิยายเรื่องนาคีของไทยกับนวนิยายเรื่องนางพญางูขาวของจีน

Main Article Content

จี่อหยวี หลี่
ศรีวิไล พลมณี
ขวัญใจ กิจชาลารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเรื่องนาคีกับเรื่องนางพญางูขาวในด้านโครงสร้างทางวรรณกรรม ได้แก่ โครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร ลักษณะนิสัยของตัวละครเอก และศึกษาความเชื่อที่ปรากฏในวรรณกรรมสองเรื่องนี้ ได้แก่ ความเชื่อที่เกี่ยวกับงูในสังคมจีนกับสังคมไทย ความเชื่อเกี่ยวกับอดีตชาติและการเวียนว่ายตายเกิด ความเชื่อเกี่ยวกับรักข้ามภพและความรักระหว่างคนกับงู ความเชื่อเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมทางพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า


นวนิยายเรื่องนาคีกับตำนานเรื่องนางพญางูขาวในด้านโครงเรื่อง แก่นเรื่อง ตัวละคร และลักษณะนิสัยของตัวละครเอกมีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง วรรณกรรมสองเรื่องนี้เปิดเรื่องโดยกล่าวถึงที่มาของตัวละครนางเอก ด้านจุดเด่นในการดำเนินเรื่องเหมือนกันแต่ตอนจบกลับแตกต่างกัน ทั้งสองเรื่องมีแก่นเรื่องเหมือนกันคือความรักระหว่างคนกับงู และความเชื่อเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม วรรณกรรมทั้งสองเรื่องมีแก่นเรื่องย่อยที่แตกต่างกัน คือ ในเรื่องนาคียังมีแก่นเรื่องย่อยเป็นความรักของแม่ที่มีต่อลูก แต่ในเรื่องนางพญางูขาวเป็นความรักของลูกที่มีต่อแม่ ในด้านตัวละคร วรรณกรรมทั้งสองเรื่องมีตัวละครเอกเหมือนกัน คือนางเอกเป็นงู พระเอกเป็นคน และแบ่งตัวละครหลักในเรื่องเป็นสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายขัดขวาง จำนวนของตัวละครฝ่ายขัดขวางในเรื่องนาคีจะมากกว่าเรื่องนางพญางูขาว ลักษณะนิสัยของตัวละครนางเอกทั้งสองเรื่องมีทั้งความดีและความชั่วจากการศึกษาความเชื่อที่ปรากฏในวรรณกรรมทั้งสองเรื่องเห็นได้ว่า งูเป็นตัวแทนของอสรพิษและปีศาจ มีลักษณะน่ารังเกียจ จึงไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม เป็นสัตว์ชั้นต่ำ อยู่ร่วมกับมนุษย์ไม่ได้ เพราะว่าสังคมมีชนชั้น และเป็นสังคมที่ไล่ล่าความแตกต่าง มนุษย์ในสังคมแบ่งชนชั้นเป็นชนชั้นสูงและชนชั้นต่ำ ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎก็จะกลายเป็นผู้แปลกแยก ถูกชนกลุ่มมากในสังคมไล่ล่า ด้วยเหตุนี้ ความรักของตัวละครเอกในวรรณกรรมทั้งสองเรื่องจึงไม่สมหวัง นอกจากนี้ วรรณกรรมสองเรื่องนี้ยังเน้นความเชื่ออดีตชาติและการเวียนว่ายตายเกิด และความเชื่อเกี่ยวกับกฎแห่งกรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตย่อมมีการเวียนว่ายตายเกิดตามกรรมที่ทำไว้ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ผู้กระทำจะเป็นผู้รับผลเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลวัชรีย์ ธีระกุล. (2540). การวิเคราะห์พฤติกรรมตัวละครในวรรณคดีมรดกตามทฤษฎีจิตวิทยา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภษาไทยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

จารวี บัวขม. (2558). โครงสร้าง บุคลิกภาพ และคุณค่าต่อสังคมในนวนิยายของ “กิ่งฉัตร”. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

จิราวดี เงินแถบ. (2524). หงส์หิน:การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและล้านนา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจารึกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ตรี อภิรุม. (2559). นาคี. กรุงเทพฯ: บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน).

เมิ่งฮัว, ก่วนจู่. (2555). ตำนานนางพญางูขาว. ฉางซา: โรงพิมพ์ยุ่วลู่.

พิทยา ว่องกุล. (2540). พลานุภาพแห่งวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

ศรีเรือน แกว้กงัวาล. (2554). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้ เรา รู้ เขา). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สมัย วรรณอุดร. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและลาวเรื่อง ลำบุษบา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).