การศึกษาความสุภาพในการสื่อสารระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุภาพในการสื่อสารระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีน ทั้งความเหมือนและความแตกต่าง และเพื่อศึกษาความสุภาพระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีน โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือ จำนวน 6 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการวิเคราะห์ความสุภาพในการสื่อสาร แบบบันทึกการสังเกตความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีน และแบบบันทึกการวิเคราะห์ความสุภาพระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมจีน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การสังเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของความสุภาพในการสื่อสารระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีน
ผลการวิจัยพบว่า การใช้ภาษาไทยกับการใช้ภาษาจีนมีความแตกต่างอย่างชัดเจน เช่น การวางตำแหน่งคำนาม คำนำหน้าคำนาม การใช้หางเสียงลงท้ายประโยค อิริยาบถท่าทางที่แตกต่าง ส่วนด้านความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของแต่ละด้านพบว่า ในการแนะนำตนเองและผู้อื่น ต้องแนะนำผู้อ่อนอาวุโสให้รู้จักกับผู้อาวุโสก่อน เพื่อเป็นการให้ความเคารพแก่ผู้อาวุโส และนิยมแนะนำฝ่ายชายให้ฝ่ายหญิงได้รู้จักก่อนเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้หญิง หากเป็นบุคคลรุ่นเดียวกัน วัยวุฒิ คุณวุฒิ และเพศเดียวกัน จะแนะนำใครให้รู้จักกันก่อนก็ได้
ในด้านวัฒนธรรม การใช้อวัจนภาษาของแต่ละประเทศนั้น มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง วัฒนธรรมไทยจะมีการแสดงออกด้วยการไหว้ การนั่ง การยืน การเดิน การแต่งกายที่สามารถแสดงถึงความเคารพต่อบุคคลและสถานที่อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าของวัฒนธรรมจีน สืบเนื่องมาจากรากฐานสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากหลักศาสนา ศีลธรรม ระบบชนชั้นวรรณะ ที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยมาอย่างช้านาน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กมล กฤปานันท์. (2557). สนทนาภาษาจีนในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
กริช สืบสนธ์. (2538). วัฒนธรรมและพฤติกรรมการสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา ธาตุเหล็ก. (2544). มารยาทไทยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
ฉี, ร่วย. (2018). ความสุภาพทั่วไป. ปักกิ่ง, จีน: จงกั๋วหัวเฉียว.
เฉิน, เห่า. (2016). เปรียบเทียบคำต้องห้ามระหว่างภาษาไทยกับภาษาจีน. เสฉวน, จีน: มหาวิทยาลัยเสฉวน.
ทรงธรรม อินทจักร. (2550). แนวคิดพื้นฐานดานวัจนปฏบิตัิศาสตร. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ. (2551). เคล็ดลับและมารยาทในการพูด. กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม.
ธนู ทดแทนคุณ และกานต์รวี แพทย์พิทักษ์. (2552). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ธิดารัตน์ น้อมมนัส.(2546). กลวิธีการตอบปฏิเสธของคนไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
วีนา สรางกลาง. (2556). การตอบรับคาํชมและการถ่ายโอนทางภาษาของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทย เปรียบเทียบกับผู้พูดภาษาญี่ปุ่นชาวญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
โสวง, จีงยั่ว. (2003). ความสุภาพในการสื่อสาร. ปักกิ่ง, จีน: จินตู้น.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิ่น, ถิงถิง. (2017). การศึกษามารยาทในการดำเนินธุรกิจของจีนและสังคมไทยในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. เสฉวน,จีน: มหาวิทยาลัยแห่งครูเสฉวน.
Berlo, D. K. (2503). The process of communication. New York: Holt, Rinehart & Winston.
Brown, P. and Levinson, S. C. (1987). Politeness Some universals in language usage. United Kingdom: Cambridge University Press.
Fishman, J. A. (ed.). (1968). Redings in the sociology of language. The Hague, Paris: Mouton.
Goffman, E. (1967). Interaction ritual. New York: Doubleday Anchor.