การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาระเบียบชุมชนในเขตพื้นที่แขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีส่วนช่วยในการรักษาวัฒนธรรมของชุมชน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการสร้างระเบียบชุมชน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในชุมชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 535 คน โดยใช้สูตรการหาค่าจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาสาสมัคร และเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีส่วนช่วยในการรักษาวัฒนธรรมของชุมชน พบว่า ชุมชนมีการสร้างข้อตกลง กลไกในการควบคุม และจัดระเบียบชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการรักษาวัฒนธรรมของชุมชน และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการสร้างระเบียบชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
นำชัย ทนุผล และสุนิลา ทนุผล. (ม.ป.ป). การพัฒนาชุมชน หลักการและยุทธวิธี. เชียงใหม่: สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้.
ณรัชช์อร ศรีทอง. (2558). กระบวนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร.
ดลใจ ถาวรวงศ์ ตันเจริญ และจันทร์ชลี มาพุทธ. (2552). กระบวนการขัดเกลาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนต้นแบบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 5(1-2), 21-34.
พัชรี กุณฑีทอง. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนเทศบาล เมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต).
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และ สังคมศาสตร์. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สุธี วรประดิษฐ์. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชน. สืบค้นจาก http://52011310474.blogspot.com /2012/04/blog-post_30.html
โสมาภา หาญวณิชานนท์. (2554). การจัดระเบียบชุมชนและการเปลี่ยนแปลง: ศึกษากรณี ชุมชนบางไทร จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศิรพณ โพธิอาภา, เอกพงษ์ วงศ์คำจันทร์ และจำเริญ อุ่นแก้ว .(2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนของตำบลสวายปรอเตียล อำเภอสะอาง จังหวัดกันดาล ราชอาณาจักรกัมพูชา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(3), 89-98.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสําหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Conbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.