ความรู้และทักษะในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยครอบครัว และปัจจัยด้านงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทักษะในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 194 คน และแบบสังเกตจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41-50 ปี ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถานภาพสมรส 2) กลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวในการเป็นอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 3) กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติหน้าที่เป็นเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นเวลา 9-13 ปี ได้รับการอบรม 2-4 ครั้งต่อปี 4) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้มากที่สุดในเรื่องการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยการคว่ำภาชนะไม่ให้มีน้ำขัง ควรทำต่อเนื่องติดต่อกันทุก 7 วัน และมีทักษะการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในภาพรวมระดับสูง โดยมีทักษะมากที่สุดในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยการติดตาม เฝ้าระวัง และรายงานผลให้หน่วยงานสาธารณสุขทราบอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 89.7 5) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทักษะในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในภาพรวม พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกสำหรับพื้นที่. สืบค้นจาก www.udo.moph.go.th/.../NE72sdO043HMwlYVqfCv1gL5Ud.doc
ชวลิต สาทช้าง. (2554). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีในการควบคุมโรคไข้เลือดออกของทีมสุขภาพอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ณัฐธิดา ศิริเกตุ. (2557). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลเขวาทุ่ง อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นจาก thawathos.net/
ตาวี พานิช. (2545). การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของผู้รถยนต์เกี่ยวกับโครงการรณรงค์การเติมน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนที่เหมาะสมกับความต้องการของเครื่องยนต์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
ภิรมย์รัตน์ เกียรติธนบดี, วิโรจน์ ไววานิชกิจ และจเด็ด ดียิ่ง. (2558). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของภาคีเครือข่ายสุขภาพในอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(2), 84-91.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. (2554). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128, ตอนพิเศษ 33 ง หน้า 1 – 10.
สำนักระบาดวิทยา. (2559). สถานการณ์โรคติดต่อที่น่าจับตามองในช่วงฤดูฝน. กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก www.riskcomthai.org/2017/detail2.php?id=24570&m=event&gid=1-026-001
Yamane, T. (1973). Statistics: An introduction analysis. New York: Harper and Row.