บทบาทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารในการน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเศรษฐกิจชุมชน

Main Article Content

สุพจน์ บุญแรง
วิศนี สุประดิษฐอาภรณ์
กัญจน์พัชร์ บุญธรานุรักษ์
อัยริญป์ เจนเจริญโภไคย
อภิรดา พรปัณณวิชญ์
ธิดารัตน์ หน่อสุวรรณ
ปิลันธสุทธิ์ สุวรรณเลิศ
นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่

บทคัดย่อ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับอาหาร โดยอาศัยความรู้สากลทางด้านการแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร เคมีอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร และการประกันคุณภาพอาหารมาประยุกต์พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยและบริการวิชาการของอาจารย์ นักวิชาการและนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่จะใช้ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ในด้านการออกแบบเครื่องมือแปรรูปตามหลักวิศวกรรม การออกแบบขั้นตอนการแปรรูปและใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน  การควบคุมและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัยจากจุลินทรีย์และสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทำความเข้าใจในบริบทและเข้าถึงความต้องการของชุมชนทำให้เกิดหลักการผลิตสินค้าชุมชนบนฐานคิดความพอเพียง ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งองค์ความรู้จากอาหารท้องถิ่นศึกษานี้จะพัฒนานักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารให้มีความเป็นผู้บริหารจัดการผลิตอาหารที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประกอบอาชีพและส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยเป็นไปตามข้อกำหนด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนจากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธิดารัตน์ หน่อสุวรรณ, จุรารัตน์ ธรรมศรี, ธนพร แซ่ลิ้ว, และ กัญจน์พัชร์ อุปลศิลป์. (2562). การทดแทนแป้งสาลีด้วยผงฟักทองญี่ปุ่นต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีของขนมปัง. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 57 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (The Proceedings of 57 th Kasetsart University Annual Conference) (น. 823-830), 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์, 2562, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิลันธสุทธิ์ สุวรรณเลิศ. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การประเมินคุณภาพน้ำอัญชันบรรจุขวดพร้อมดื่มที่สภาวะการให้ความร้อนในการฆ่าเชื้อที่แตกต่างกันและระหว่างการเก็บรักษา. เชียงใหม่: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 120 หน้า. (ธันวาคม).

วิศนี สุประดิษฐอาภรณ์ และประมวล ศรีกาหลง. (2560). การพัฒนาข้าวคั่วสมุนไพรในระดับอุตสาหกรรมท้องถิ่น : กรณีศึกษาชุมชน เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35(3), 89-97. (กันยายน).

สุดธิดา กาวีย์, เบญจมาภรณ์ ต๊ะสุยะ และสุพจน์ บุญแรง (2561). ปัญหาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาระบบความน่าเชื่อถือต่อปริมาณความชื้นในผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้ง. เชียงใหม่: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อภิชญา ทองทับ, เฉลิมพล สีดำ และภุมรินทร์ นามวงค์. (2558). การศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการผลิตน้ำพริกน้ำผักกึ่งสำเร็จรูป. ใน การประชุมสัมมนาทางวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (น. 98-102), 5 มิถุนายน 2558. ชลบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

อภิรดา พรปัณณวิชญ์. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกลาบหมูพื้นเมือง. ใน เรื่องเต็มการประชุม การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 52 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (The Proceedings of 52 th Kasetsart University Annual Conference) เล่มที่ 6 สาขาอุตสาหกรรมเกษตร (น. 326-333), 4-7 กุมภาพันธ์ 2557, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนุชา เสมารัตน์. (2560). ศาสตร์พระราชา. รัฏฐาภิรักษ์, 59(1), 112-126. (มกราคม-เมษายน).

Murano, P. S. (2003). Understanding Food Science and Technology. California, USA: Thomson Learning, Inc.

.