ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542: กรณีประโยชน์ตอบแทน
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 กำหนดให้ครูจะต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนการทำงานไม่น้อยกว่าที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนด ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติและระเบียบดังกล่าว กรณีประโยชน์ตอบแทน ได้แก่ การไม่มีนิยามของคำว่า “ประโยชน์ตอบแทน” ไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้เกิดปัญหาการตีความกฎหมาย ซึ่งมีผลต่อการใช้กฎหมายให้ถูกต้องและเป็นธรรม การมีข้อบกพร่องในบทบัญญัติ เรื่องหลักการคำนวณค่าสอนโดยเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ เรื่องระยะเวลาทำงานล่วงเวลาในวันทำการซึ่งไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เรื่องหลักการจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดซึ่งไม่สอดคล้องกับค่าทำงานในวันหยุด เรื่องการจ่ายค่าชดเชยกรณีทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไปซึ่งต้องนำเอากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมาบังคับใช้ และเรื่องการนำคดีขึ้นฟ้องต่อศาลแรงงานซึ่งไม่จำต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการคุ้มครองการทำงาน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2558). กฎหมายมหาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541. (2541). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 115 ตอนที่ 8 ก, หน้า 13-30.
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. (2554). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 128 ตอนที่ 4 ก, หน้า 5-24.
พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนที่ 7 ก, หน้า 29-62.
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542. (2541). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 116 ตอนที่ 11 ง, หน้า 49-71.
วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม. (2558). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่. (2562). คดีแรงงาน แนวคิดในการอธิบายความหมายปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมคำ พิพากษา ศาลฎีกา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
อริยาพร โพธิใส. (2553). หลักทั่วไปในการตีความกฎหมายแพ่งและอาญา. วารสารจุลนิติ, 7(4), 163-171.