การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน บริบทชุมชนริมน้ำ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองฉนาก อ. เมือง จ. สุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อติญาณ์ ศรเกษตริน
รุ่งนภา จันทรา
ชุลีพร หีตอัษร
สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์
รวีวรรณ แก้วอยู่
สัญญา คำดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบริบทชุมชนริมน้ำตามความต้องการของชุมชน และเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบริบทชุมชนริมน้ำ ใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนาบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ คือ 1) การศึกษาสภาพการณ์และความต้องการ เพื่อประเมินสภาพทั่วไปของการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบริบทชุมชนริมน้ำ รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ อสม. และบุคลากรสาธารณสุข โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง  2) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบริบทชุมชนริมน้ำ ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ในด้านอรรถประโยชน์ ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม  3) การนำรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน บริบทชุมชนริมน้ำไปใช้  และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบริบทชุมชนริมน้ำ  โดยใช้แบบบันทึกรายการ และแบบประเมินความพึงพอใจของทีมเยี่ยมบ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และร้อยละ 


            ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบริบทชุมชนริมน้ำ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลลัพธ์ (Outcome) และประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านบริบทชุมชนริมน้ำ พบว่า อัตราความครอบคลุมการเยี่ยมผู้ป่วย ร้อยละ 100 อัตราผู้ป่วยส่งกลับได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 100 จำนวนชั่วโมงการเยี่ยมบ้าน  6 ชั่วโมง/สัปดาห์ และทีมเยี่ยมบ้านมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 8.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.18 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2562). สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา. (2556). ระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มปกติ/เสี่ยง/ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย: นโยบายสู่การปฏิบัติ สำหรับสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. สืบค้นจาก www.hed.go.th

กระทรวงสาธารณสุข, สำนักการพยาบาล. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน Home Ward. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2551). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กุลนภา บุญมากุล. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมการเยี่ยมบ้านในการบำบัดทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในระยะสุดท้ายของชีวิต ที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน).

มาลีจิตร์ ชัยเนตร. (2552). ผลของการเยี่ยมบ้านต่อการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรัง.(การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ราตรี มณีขัติย์. (2550). ผลของการเยี่ยมบ้านต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ตำบลอุโมงค์ จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2560). ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมืองสุราษฏร์ธานี จังหวัดสุราษฏร์ธานี. สืบค้นจาก https://suratthani.kapook.com/เมืองสุราษฏร์ธานี/คลองฉนาก

สิทธิพร เกษจ้อย. (2560). บทบาทการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบาน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลโนนท่อน อําเภอเมืองขอนแกน จังหวัดขอนแกน. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 163-173.

สุชาดา อุปพัทธวาณิชย์. (2550). ผลของการดูแลสุขภาพที่บ้านโดยทีมสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ โรงพยาบาลแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา).

แอนนา สุมะโน. (2550). ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านต่อการปฏิบัติตามแผนการดูแลสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคปอด อําเภอศรีราชา ชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติ ชุมชน มหาวิทยาลัยบูรพา).

Bertalanffy, L. V. (1968). General System Theory: Foundations, Development, Applications. New York: George Braziller.

Smith, C. M., and Maurer, F.A. (2000). Community Health Nursing Theory and Practice. (2nd ed.). Philadelphia: W. B. Saunders.

Standhope, M. and Lancaster, J. (1996). Community health nursing in home health and hospice. In Standhope, M. & Lancaster, J. (Eds.). Community health nursing promoting health of aggregates. Families. and individual: Community health nursing in home health care and hospice care. (4th ed.) Philadelphia: J. B. Lippincott Company.

Stufflebeam, D. L., and Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models, and applications. San Fancisco, CA: Jossey-Bass.