แนวทางการจัดตั้งและการดำเนินงานหอจดหมายเหตุดาราศาสตร์ไทย

Main Article Content

ปรียา สุขยิ่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดตั้งและการดำเนินงานหอจดหมายเหตุ       ดาราศาสตร์ไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดแหล่งข้อมูลและผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ 2) หอจดมายเหตุสถาบัน และ 3) หอจดหมายเหตุเฉพาะด้าน โดยเลือกศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง หอจดหมายเหตุจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ 1) สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ 2) หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยพายัพ 3) หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 4) หอจดหมายเหตุมูลนิธิพระดาบส 5) หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ 6) ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย 7) หอจดหมายเหตุราชสมาคมดาราศาสตร์ประเทศอังกฤษ และ 8) หอจดหมายเหตุ Paris Observatory เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก จำนวน 3 ชุด ใช้สัมภาษณ์ 1) ผู้บริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน 1 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านงานจดหมายเหตุ จำนวน 1 คน และ 3) บุคลากรที่มีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบงานหอจดหมายเหตุ จำนวน 8 คน จากหอจดหมายเหตุ 8 แห่งข้างต้น และแบบบันทึกการสังเกตเพื่อศึกษาด้านอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ ของหอจดหมายเหตุทั้ง 8 แห่ง


ผลการศึกษา ได้แนวทางการจัดตั้งและการดำเนินงานหอจดหมายเหตุดาราศาสตร์ไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 องค์ประกอบในการจัดตั้งและการบริหารงานหอจดหมายเหตุ ได้แก่ ทรัพยากรจดหมายเหตุ นโยบายการจัดตั้ง วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ บุคลากร อาคารสถานที่และครุภัณฑ์ และส่วนที่ 2 กระบวนการดำเนินงานเอกสารจดหมายเหตุ ได้แก่ การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าเอกสาร การจัดหมวดหมู่และการจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุ การสงวนรักษาและอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุและการบริการ และเผยแพร่เอกสารจดหมายเหตุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการต่างประเทศ, กรมยุโรป. (ม.ป.ป.). หอดูดาวแห่งกรุงปารีส (L’Observatoire de Paris). สืบค้นจาก http://www.europetouch.in.th/main/InformationDetail

ชยันต์ หิรัญพันธุ์. (2562). งานจดหมายเหตุเบื้องต้น. ใน การอบรมงานจดหมายเหตุเบื้องต้น. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

ดาวเรือง แนวทอง. (2548). การบริหารและดำเนินงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานประจำปี 2558. เชียงใหม่: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2542). วิชาการพื้นฐานการบริหารและจัดการจดหมายเหตุ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2555). มาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุทิมพ์ สุริยะวงค์. (2555). คู่มือแนะนำเอกสารคริสตจักรภาคที่ 1 (เชียงใหม่-ลำพูน) ค.ศ. 1933—979 ในหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สุรีย์ ชูราศรี. (2555). การจัดทำคำอธิบายเอกสารจดหมายเหตุเรื่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร).

British Standards Institution. (2005). Recommendations for the storage and exhibition of archival documents. London: BSI.

Hoskin, M. (1998). The value of archives in writing the history of astronomy. Retrieved from http://articles.

adsabs.harvard.edu/full/1998aspc..153..207h

National Aeronautics and Space Administration. (2016). About NASA. Retrieved from https://www.nasa.gov/

about/index.html

National Archives and Records Administration. (2008). Facility Standards for Federal Records Storage Facilities. College Park : The U.S. National Archives and Records Administration. Retrieved from https://www.archives.gov/records-mgmt/storage-standards-toolkit

National Radio Astronomy Observatory. (2016). The National Radio Astronomy Observatory Archives. Retrieved from http://www.nrao.edu/archives/

Royal Astronomical Society. (2015). About the Library and the archives. Retrieved from https://www.ras.org.uk/

library/about-the-library

Schellenberg, T. R. (2003). Modern archives principle and technique. USA: University of Chicago.

Yun, Y. (1988). A study of organization for a university archives. Korea Library Information Academy Library Science, 15, 258-276.