การสร้างชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแม่คำ (ประชานุเคราะห์) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วิไลพร เสี่ยงกุศล
ยุพิน จันทร์เรือง
ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้ชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อและ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแม่คำ (ประชานุเคราะห์) อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ห้องเรียน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งหมด 83 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 84.05/84.75 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนโดยใช้ชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 30.74 และ 83.37 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการสอนทักษะการคิดวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ โดยใช้บทเพลงไทยสากลเป็นสื่อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1),
7-19.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเบื้องต้นสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

บุญชู สนสกุล. (2553). การพัฒนาชุดการสอนภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

ผ่องศรี สุริยะป้อ. (2545). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บทเพลง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

พรรณวิภา เสาเวียง. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พิกุล ทองทิพย์. (2550). ผลการใช้เพลงลูกทุ่งประกอบการเรียน เรื่อง คำควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการศึกษาและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

เพ็ญศรี จันทร์ดวง. (2545). แผนการเรียนหนังสือเสริมทักษะจุดพัฒนาทักษะกระบวนการภาษาไทยซีรีย์ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วีระ สุดสังข์. (2550). การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศิรินพรัตน์ พิธานสมบัติ. (2541). ความคิดเห็นของครูประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการใช้บทเพลงประกอบการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรีบังอร จุ้ยศิริ. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวรรณคดีไทยโดยใช้เพลงประกอบการสอนกับการสอนปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขามัธยมศึกษา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นจาก http//www.niet.or.th

สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

สุกัญญา คงสูน. (2550). การศึกษาเชิงวิเคราะห์สำนวนและโวหารภาพพจน์ในเพลงไทยลูกทุ่ง ของ ชายเมืองสิงห์.
(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สุมน อมรวิวัฒน์. (2541). “ทำไมต้องปฏิรูปการเรียนรู้” การปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์.

หวานใจ บุญยก. (2544). การพัฒนาแผนการสอนคำวิชาภาษาไทยโดยใช้เกมและเพลงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (การศึกษาปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).