การพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิธีสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ที่บูรณาการแนวคิด
จิตตปัญญาศึกษา และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ของกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ประชากร ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญา และรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) 2) แบบประเมินคุณภาพรายละเอียดของรายวิชาวิธีสอนภาษาอังกฤษ (มคอ.3) 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิธีสอนภาษาอังกฤษ 4) บันทึกการเรียนรู้ (Learning Log) และ 5) บันทึกการสอน (Teaching Log) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาวิธีสอนภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาส่งผลให้ได้รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ที่บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้สอนได้จริงเพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเองของนักศึกษาครู จากการศึกษาปัญหา อุปสรรคของกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา พบว่า ขนาดและลักษณะการจัดห้องเรียนเป็นเพียงอุปสรรคเดียวที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กฤษณมูรติ จิณฑฑฺ. (2556). การศึกษาและสาระสำคัญของชีวิต [Education and the Significance of Life] (นวลคำ จันภา, แปล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิอันวีกษณา.
กฤษณา ขำปากพลี. (2557). ผลการใช้การบันทึกเชิงสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2553). จิตตปัญญาศึกษา: การเรียนรู้สู่จิตสำนึกใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด.
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของนิสิตครู มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(4), 186-199.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). บทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญา The Art of Contemplative Oriented Transformative Facilitation. ใน จิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประเวศ วะสี. (2546). การพัฒนามนุษย์แนวใหม่เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
วรางคณา ภู่ศิริภิญโญ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และระบบพี่เลี้ยงเพื่อเตรียมความพร้อม นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาภาษาอังกฤษสู่ชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 110-111.
วิจักขณ์ พานิช.(2550). เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ: การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางจิตวิญญาณ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). การผลิตบัณฑิตใน ศตวรรษที่ 21. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 6(2), 129-152.
สลักจิต ตรีรณโอภาส. (2553). การพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยกระบวนการเรียนรู้แนวจิตตปัญญาศึกษารายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู นักศึกษาโปรแกรมวิทยาศาสตร์ทั่วไป (รายงานผลการวิจัย, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม).
Kuroda, A. (2013). Contemplative Education Approaches to Teaching Teacher Preparation Program. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116(2014), 1400 – 1404.
Mezirow, J. (2000) .Learning as transformation: critical perspectives on a theory in progress. San Francisco: Jossey-Bass.
Moore, C. and Teather, S. (2013). Engaging students in peer review: Feedback as learning. Issues in Educational Research, 23(2), 196-211.
The Center of Contemplative Mind in Society. (2000). What are Contemplative Practices?. Retrieved from http://www.contemplativemind.org/ practices/
Zinger, L. (2008). Educating for tolerance and compassion: Is there a place for meditation in a college classroom?. College Teaching Methods & Styles Journal, 4(4), 25-28.