การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสือนิทานคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ที่มีต่อหนังสือนิทานคุณธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 37 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย หนังสือนิทานคุณธรรม จำนวน 8 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หนังสือนิทานคุณธรรม จำนวน 16 แผน การทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนจำนวน 2 แผน รวมเวลาเรียน 18 ชั่วโมง และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ของหนังสือนิทานคุณธรรม ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและร้อยละของคะแนน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือนิทานคุณธรรม ด้วยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
- หนังสือนิทานคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.11/85.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความ หลังเรียน ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ที่เรียนโดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านจับใจความ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) ที่มีต่อหนังสือนิทานคุณธรรม โดยภาพรวมนักเรียนมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.16
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ก). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551ข). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.
เจด็จ คชฤทธิ์. (2554). เด็กกับหนังสือ. กรุงเทพฯ: บ้านหนังสือ.
ชวาล แพรัตกุล. (2558). เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ณิชาพร ปรีชาวิภาษ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2561). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงราย: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏเชียงราย.
ปาริชาติ แผงบุดดา. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้ชุดการสอนนิทานพื้นบ้าน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
พัฒนา ชาติชำนิ. (2556). การพัฒนาหนังสือนิทานคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ เพื่อส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ตีพริ้นท์.
รังสิมันตุ์ ฉิมรักษ์. (2550). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.
โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์). (2560). การวัดและประเมินผลการศึกษา. (เชียงราย): โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์).
ฤทัยรัตน์ อยู่จันทร์. (2554). การพัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. (2554). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
วิริยะ สิริสิงห์. (2556). การเขียนเรื่องสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). ผลการสอบ O-NET. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2560.pdf
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119
เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุชาติ เจริญฤทธิ์. (2554). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง “เที่ยวเมืองพังงา”. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ).
สุนัชานันท์ ทองดี. (2553). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านจับใจความจากนิทานคุณธรรมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี).
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2561). นิทานสีขาว. กรุงเทพฯ: ซีพี ออลล์.