การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ภัทราณี เวียงนาค
บำรุง ชำนาญเรือ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนชนแดนวิทยาคม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมด 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่าน อย่างมีวิจารณญาณโดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples  t-test) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START)
    โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

ฉวีลักษณ์ บุญยะกาญจน. (2557). จิตวิทยาการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ชนิดาภา ใหญ่ธรรมสาร. (2557). การใช้กลวิธีสตาร์ท เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

นิตยภัทร์ ธาราสุข. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กลวิธีสตาร์ท (START) และแผนภูมิความหมาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดไทร (สินศึกษาลัย). (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ผะอบ โปษกฤษณะ. (2554). ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย การเขียน การอ่าน การพูด การฟัง และราชาศัพท์.

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

พรศิริ สันทัดรบ. (2557). ผลของการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรสุดา อินทร์สาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พาสนา จุลรัตน์. (2556). เมตาคอกนิชันกับการเรียนรู้. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 14(1), 1-17. สืบค้นจาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/6714/6323

มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2548). อ่านเป็น: เรียนก่อนสอนเก่ง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

โรงเรียนชนแดนวิทยาคม, กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ

ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2560 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40). เพชรบูรณ์: โรงเรียนชนแดนวิทยาคม.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2529). การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สริตา บัวเขียว. (2559). Scaffolding...ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(1), 1-15.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). การสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุรีย์ภรณ์ บุญญมงคล. (2553). การใช้กลวิธีสตาร์ทเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อัจฉรา ประดิษฐ์. (2550). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน (1). กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

Scharlach, T. D. (2008). START comprehending: Students and teacher actively reading text. The Reading Teacher Journal, 62(1), 20-31. Retrieved from https://www.scribd.com/doc/221175492/start