การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพวงพยอม จังหวัดพะเยา

Main Article Content

กัญญาณัฐ มีคง
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนกับหลังเรียนโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถาม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพวงพยอม จังหวัดพะเยา ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพวงพยอม จังหวัดพะเยา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์จำนวน 10 แผนการเรียนรู้ ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้แผนละ 2 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการคิดวิเคราะห์ทั้งก่อนและหลังเรียน แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า


  1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถาม
    เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนกลุ่มทดลองกลุ่มใหญ่คือ โรงเรียนบ้านธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา เท่ากับ 81.09 / 80.24 มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้

  2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพวงพยอม ระหว่างก่อนกับหลังเรียนโดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยผลคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.50 ผลคะแนนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.00 ค่าความก้าวหน้าทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.50 คิดเป็นร้อยละ 18.33

  3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพวงพยอม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
    โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นและเทคนิคการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
    (gif.latex?\mu= 4.41, gif.latex?\sigma= 0.57)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กตัญญู ชูชื่น. (2550). วรรณกรรมท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โอเดี่ยนสโตร์.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฏีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: วีปริ้นท์ (1991) จำกัด.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วีปริ้นท์ (1991)จำกัด.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

นาแล จะหา. (2558). การใช้นิทานพื้นบ้านลาหู่เฌเลพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักศึกษาที่เรียนรายวิชาภูมิปัญญาชาติพันธุ์ สาขาวิชาชาติพันธุ์ศึกษา อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุรีวิยาสาส์น.

ประกายมาศ ทองหมื่น. (2554). การใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ในการอ่าน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ปัทมาภรณ์ พรดวงคำ. (2555). การพัฒนาความสามารถการวิเคราะห์วรรณกรรมโดยใชัการสอนแบบ

สืบเสาะหาความรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

พรสวรรค์ สุวัณณศรีย์. (2553). ภาษากับการคิด. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พระมหาวรัฏฐนน กมโล. (2560). การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้นิทานชาดก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดท่าตอน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

ไพฑูรย์ สินลารัตน์, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ และไสว ฟักขาว. (2557).

คิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มงคล คำดวง. (2544). ความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการใช้คำถามชี้แนะให้คิด. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เรไร ไพรวรรณ์. (2551). วรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2552). ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ฟาสบุค.

โรงเรียนบ้านพวงพยอม. (2561ก). รายงานผลการปฏิบัติงานโรงเรียนบ้านพวงพะยอม (SAR) ประจำปีการศึกษา 2560. พะเยา: โรงเรียนบ้านพวงพยอม.

โรงเรียนบ้านพวงพยอม. (2561ข). รายงานผลการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน ประจำปีการศึกษา 2560. พะเยา: โรงเรียนบ้านพวงพยอม.

โรงเรียนบ้านพวงพยอม. (2561ค). รายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประจำปีการศึกษา 2560. พะเยา: โรงเรียนบ้านพวงพยอม.

วินนา เทพคำ. (2553). การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2538). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริภรณ์ ผดุงโภชน์. (2556). การใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่สายประสิทธิศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2540). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สุวิทย์ มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. พะเยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.