กิจการเพื่อสังคมกับการแก้ปัญหาในสังคมไทย

Main Article Content

พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 


            ปัญหาสังคมเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนส่วนมาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา กิจการเพื่อสังคมเป็นนวัตกรรมที่ใช้กลไกทางธุรกิจในการแก้ไขปัญหา โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีและเกิดความยั่งยืนในการประกอบกิจการ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมากิจการเพื่อสังคมสามารถดำเนินการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพในกลุ่มประเทศทางยุโรปและสหรัฐอเมริกาจึงส่งผลทำให้กิจการเพื่อสังคมได้มีการขยายออกไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้ปรากฏกิจการเพื่อสังคมขึ้นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและมีแนวโน้มขยายออกไปในภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การตระหนักถึงปัญหาสังคมและความสนใจของผู้ประกอบการในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดเครือข่ายของกิจการเพื่อสังคมขึ้นในประเทศไทยได้แก่ กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกลุ่มกิจการเพื่อสังคมที่เกิดจากการรวมตัวของภาครัฐ เอกชนและเครือข่ายกิจการ เพื่อสังคมในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังปรากฏเกครือข่ายกิจการเพื่อสังคมขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของไทยได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคมจังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มกิจการเพื่อสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจการเพื่อสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบันได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาของสังคมไทยแล้วใน 4 ด้าน คือ ปัญหาความยากจน ปัญหาสังคมผู้สูงวัย ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม    

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กาญจนา สมมิตร. (2557). สถานการณ์ธุรกิจเพื่อสังคมภายใต้บริบททุนทางสังคมในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 7(2), 120-131.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติในสังคมผู้สูงวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

กรมทรัพยากรดิน. (ม.ป.ป.). การใช้ที่ดินของประเทศไทย ระหว่างปีพ.ศ. 2558 ถึง ปี พ.ศ. 2559. สืบค้นจาก http://www1.ldd.go.th/WEB_OLP/result/luse_result58-59.htm

จารีย์ ปิ่นทอง, ธนภร ฐิตินันท์, ประภัสสร แสวงสุขสันต์ และณัคนางค์ กุลนาถศิริ. (2561). สังคมสูงวัยกับการท้าทายของตลาดแรงงานไทย. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriodCohort.pdf

จิตอุษา ขันทอง. (2559). กิจการเพื่อสังคมไม่หวังผลกำไรจริงหรือ. สืบค้นจาก http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/qm213_p45-47.pdf

ชมพูนุช พรมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารสำนักงานรัฐสภา, 3(1), 1- 19.

ณัจฉลดา พิชิตบัญชาการ. (2533). ปัญหาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รามคำแหง.

ดวงรัตน์ ประจักษ์ศิลป์ไทย. (ม.ป.ป.). วิสาหกิจเพื่อสังคม. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-010.pdf

นฤมล อภินิเวช, เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์ และอำไพ เกตุสถิตย์. (2557). แนวทางสร้างสรรค์โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

ประยงค์ อ่อนตา. (ม.ป.ป.). ปัญหาสังคม. สืบค้นจาก http://human.bsru.ac.th/e-learning/@PWP%20to%

PDF/57%20Social/57%20Social%20Prayong%202204332.pdf

มูลนิธิฟื้นฟูชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (ม.ป.ป.). ร่วมทุนชนบท. สืบค้นจาก http://rcp.in.th/ร่วมทุนชนบท

สานิตย์ หนูนิน. (2557). กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 32(4), 196-206.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ปัญหาสังคมแนวพุทธ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 3(1), 1-8.

สุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2556). เศรษฐกิจสีเขียว: แนวคิดและประเด็นท้าทายสำหรับประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อม, 17(4), 1-8.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580

(ฉบับย่อ). สืบค้นจาก https://infocenter.nationalhealth.or.th/Ebook/NationalStrategy/book.html

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://library.onep.go.th/onep-r-envisit-2560/

สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. (2554). การติดตามและประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินปี พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=9270&filename=index

Borzaga, C. and Galera, g. (2012). The concept and practice of social enterprise. Lessons from the Italian experience. International Review of Social Research, 2(2), 85-102.

Defourny, M. and Nyssens, M. (2010). Conceptions of social enterprise and social entrepreneurship in Europe and the United State: Convergences and divergences. Journal of Social Enterpraneuship, 1(1), 32-53.

Grieco, C. (2015). Assessing social impact of social enterprises. New York: Springer Publishing.

Kerbo, H. R. and Coleman, J. W. (2006). Social problem. Journal of social science, January, 362-369. Retrieve from https://www.researchgate.net/publication/46572319_Social_Problems

Kornblum, W., Julian, J. and Smith, C. D. (2012). Social problems. (14nd ed.). United Stated: Pearson Education Publisher.

Lauer, R. (2018). Social problems and quality of life. (14 nd ed.). New York: Mc Kraw-Hill Education Press.