การพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน โดยการสร้างอาชีพเสริมในพื้นที่บ้านเพนียด ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

สุนทรีย์ วิพัฒครุฑ
อุษณี จิตติมณี
เพ็ญนภา จุมพลพงษ์
เสาวพร สุขเกิด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บริบทเชิงพื้นที่ในการดำเนินงานและการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี และเสนอแนวทางการดำเนินการพัฒนาศักยภาพของชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนด้วยการสร้างอาชีพเสริม การวิจัยนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษาจากพื้นที่เป้าหมายคือ ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จากตัวแทนผู้นำชุมชนและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาวิเคราะห์ข้อมูลสรุปอุปนัยและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทเชิงพื้นที่ชุมชนเพนียดมีฐานทุนที่เหมาะสมในเชิงบูรณาการ ทั้งในด้านทรัพยากร และชุมชนเปิดรับต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ในการพัฒนาชุมชน แสดงให้เห็นถึงความพร้อมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 2) แนวทางและการดำเนินการเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนด้วยการสร้างอาชีพเสริมจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นในพื้นที่ รวมทั้งความรู้ในการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในท้องถิ่นด้วยการดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้วยตนเองในอนาคต ข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการสร้างอาชีพเสริมเพื่อพัฒนาจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพในชุมชนดังนี้ คือ 1) การเสริมสร้างองค์ความรู้และฝึกทักษะต่าง ๆ ให้แก่ผู้นำและสมาชิกในกลุ่ม 2) การสร้างความร่วมมือจากภายในชุมชนและภายนอกชุมชนแบบไตรภาคี ทั้งองค์กรชุมชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรภาคีสนับสนุน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กนกรัตน์ ดวงพิกุล และจารุนันท์ เมธะพันธุ์. (2559). การศึกษาความเป็นชุมชนเข้มแข็ง บ้านม่วงใหม่ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(2), 141-153.

กัลป์ยกร ไชยทนุ. (2552). ปัจจัยด้านการบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข” ดีเด่น อำเภอแจ้ห่ม ปี 2550 บ้านแป้นโป่งชัย หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

ขวัญกมล ดอนขวา. (2555). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

คณะกรรมการปฏิรูป (สปร.). (2554). แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: บากกอกกล๊อก

ชมนาถ แปลงมาลย์. (2562). การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนบ้านส่องตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิถีสังคมมนุษย์, 7(1), 114-131.

ชยภรณ บุญเรืองศักดิ์ และสุทธิพงษ์ เอี่ยมอ่อง. (2562). การจัดการสุขภาวะชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 10(1), 55-69.

เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี. (2562). การมีส่วนร่วมสร้างเสริมอาชีพผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหารปลาส้มสมุนไพร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1), 295-306.

ทวี วัชระเกียรติศักดิ์. (2559). การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยการพัฒนากลุ่มอาชีพ ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตําบลพลสงคราม อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 5(1), 43-54.

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2556). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2557). การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 10(1), 1-21.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืด แม่สมศรี ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 206-230.

ปาณวัฒน์ อุทัยเลิศ. (2551). การจัดการธุรกิจชุมชนของตลาดริมน้ำดอนหวาย ตำบลบางระทึกอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา).

ปิยะพรรณ แซ่ปิง. (2552). การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อประโยชน์ในชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. (สารนิพนธ์ปริญญาสังคมศาตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน : กรณีศึกษาบ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย.

วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(3), 925-935.

พัชนี ตูเล๊ะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนราธิวาส. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 1823-1837.

ไพฑูรย์ ทองทรัพย์. (2553). การสร้างอาชีพจากวัสดุท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. นครสวรรค์: คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ .

ไมตรี อินเตรียะ. (2560). ทุนทางสังคม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 9(2), 14-25.

แม้นหมาย อรุณชัยพร. (2556). ทุนทางสังคมกับการขับเคลื่อนกลุ่มอาชีพชุมชน กรณีศึกษากลุ่มเพาะปลูกสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนกรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วิภาวี กฤษณะภูติ. (2559). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม และอุษณากร ทาวะรมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี.วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 39-49.

วิยะดา แก้วก่อง และสุนันทา วีรกุลเทวัญ. (2552). ความเข้มแข็งของชุมชนชาวส่วยบ้านหนองตาดำ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 46-53.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา เคณาภูมิ, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และภักดี โพธิ์สิง. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนกรณีกลุ่มเลี้ยงปลากระชังและกลุ่มสหกรณ์เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 35-43.

สุนทรา โตบัว, กรประภา เจริญชันษา และสวัสดิ์ พิมพ์สุวรรณ. (2558). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอาชีพแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 224-237.

สุพัตรา คงขำ. (2561). ทุนทางสังคมกับการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา: ชุมชนบ้านบ่อน้ำซับหมู่ที่ 1 ตำบลขุนทะเล อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 1727-1743.

สุชานาถ พัฒนวงศ์งาม. (2554). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มทองเหลืองสาน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุปราณี จันทร์ส่ง, บุญทัน ดอกไธสง, สอาด บรรเจิดฤทธิ์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558). การพัฒนาทุนทางสังคม

เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 273-283.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลเพนียด. (2558). แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2559-2561. สืบค้นจากhttps://www.phaniat.org/web/index.php/2015-06-15-06-54-23

อุทัยวรรณ ภู่เทศ. (2558). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนด้านอาชีพผลิตภัณฑ์จากบัวเพื่อพัฒนา ระบบเศรษฐกิจของชุมชนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 16(2), 201-210.

อัญธิชา มั่นคง. (2560). บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(39), 90-100.

เอกรินทร์ ตั้งนิธิบุญ และธิติมา เกตุแก้ว. (2560). การสำรวจและศึกษาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตธนบุรี เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.