ความงามในบทละครเรื่องพระศรีเมือง

Main Article Content

สุภาวดี เพชรเกตุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องความงามในบทละครเรื่องพระศรีเมืองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความงามของบทละครเรื่องพระศรีเมืองพระนิพนธ์กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขในด้านเนื้อหาและรูปแบบ เพื่อแสดงให้เห็นคุณค่าของพระนิพนธ์เรื่องนี้ในฐานะงานศิลปะซึ่งประกอบด้วยคุณค่าทางปัญญา คุณค่าทางอารมณ์ และคุณค่าทางวรรณศิลป์ โดยได้ศึกษาบทละครเรื่องพระศรีเมือง ฉบับที่สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนำมาปริวรรตและพิมพ์เผยแพร่ใน พ.ศ.2552 จำนวน 10 ตอน


ผลการศึกษาพบว่าบทละครเรื่องพระศรีเมืองมีเนื้อหาทางความคิดมุ่งเสนอลักษณะบุคคลที่จะนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้านเมืองผ่านตัวละครเอก 7 ประการ คือ มีบุญบารมี มีรูปงาม มีความรู้ความสามารถ มีของวิเศษ มีผู้ให้ความช่วยเหลือ มีคู่ครองที่เหมาะสม และมีคุณธรรม เนื้อหาทางอารมณ์ที่พบ คือ อารมณ์รัก อารมณ์โศก และอารมณ์ขันซึ่งเนื้อหาทางอารมณ์สอดคล้องและส่งเสริมเนื้อหาทางความคิด กวีได้นำเสนอลักษณะของผู้ที่จะนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้านเมืองผ่านกลอนบทละคร โดยใช้ภาษาที่งดงาม มีความไพเราะ มีการเล่นเสียง การเล่นคำ การใช้ความเปรียบ อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับบทพรรณนาตามขนบ บทละคร
เรื่องพระศรีเมืองเป็นบทละครที่งดงามและแสดงให้เห็นความสามารถในการใช้ภาษาของกวี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2514). บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ อุณรุทร้อยเรื่อง ระเด่นลันได กลอนเพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ พระอาการประชวรของกรมหมื่นอัปสรสุดา. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

กรมศิลปากร. (2545). วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

ดวงมน ปริปุณณะ. (2516 ). ความงามของทวาทศมาส. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นภาลัย สุวรรณธาดา. (2525). ภาษาไทย 4 วรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2554). นิสัยการอ่านของคนไทยในมิติวัฒนธรรม. ใน การประชุมวิชาการ Thailand Conference on Reading 2011, 24-25 สิงหาคม 2554 ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอมารีวอเตอร์เกท (ประตูน้ำ). กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

ป่านแก้ว ชมเชย. (2553). ความงามในพระปฐมสมโพธิกถา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2547). พระมหาจักรพรรดิราช. ใน มณีปิ่นนิพนธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (หน้า 179-194).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/dictionary/

สมุดภาพปฐมสมโพธิกถา: วรรณคดีพระพุทธศาสนาพากย์ไทย คัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า. (2552). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

สุพรรณ อรพินท์. (2532). วรรณกรรมการแสดง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภรัตน์ ขันธพัฒน์. (2544). ศึกษาความงามในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2530-2540. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุภัค มหาวรกร และพฤทธิ์ ศุภเศษฐศิริ. (2555). รายงานผลการวิจัยเรื่องการแปรรูปบทละครเรื่องอิเหนา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาพร มากแจ้ง. (2535). กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เสาวนิต วิงวอน. (2558). บทละครนอกแบบหลวง: การพินิจตัวบทสู่กระบวนการแสดง. ใน สรณัฐ ไตลังคะ และรัตนพล ชื่นค้า (บรรณาธิการ), นาฏยวรรณคดีสโมสร. (น. 91-124). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล (บรรณาธิการ). (2552). บทละครเรื่องพระศรีเมือง. นครปฐม: สาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อารดา สุมิตร. (2516). ละครในของหลวงในสมัยรัชกาลที่ 2. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).