ศึกษาข้อบกพร่อง และวิเคราะห์สาเหตุข้อบกพร่องด้านการใช้พยัญชนะภาษาไทยในการเขียนคำภาษาไทยของนักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยครูยวี่ซีนอร์มัล ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “ศึกษาข้อบกพร่อง และวิเคราะห์สาเหตุข้อบกพร่องด้านการใช้พยัญชนะภาษาไทยในการเขียนคำภาษาไทยของนักศึกษาจีน จากมหาวิทยาลัยครูยวี่ซีนอร์มัล ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่อง และวิเคราะห์สาเหตุข้อบกพร่อง ด้านการใช้พยัญชนะภาษาไทยในการเขียนสะกดคำของนักศึกษาจีน โดยศึกษาข้อบกพร่องดังกล่าวจากงานวิจัย จำนวน 5 เรื่อง ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาและวัฒนธรรมไทย จำนวน 40 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชา ZO614112 ภาคนิพนธ์ ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2560
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาจีนจากมหาวิทยาลัยครูยวี่ซีนอร์มัล ที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายมีข้อบกพร่องด้านการเขียนภาษาไทยทั้งสิ้น 23 ลักษณะ สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ข้อบกพร่องในการเขียนพยัญชนะต้น ได้แก่ พยัญชนะต้นเดี่ยว และพยัญชนะต้นควบกล้ำ 2. ข้อบกพร่องในการเขียนพยัญชนะท้าย โดยสาเหตุของข้อบกพร่องด้านการเขียนภาษาไทยเกิดจาก 1. นักศึกษาชาวจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศที่สอง ไม่คุ้นชินกับตัวอักษรไทย จึงเกิดการเขียนสลับตัวอักษร 2. ภาษาจีนไม่ปรากฏหน่วยเสียงพยัญชนะท้าย /น/ นักศึกษาชาวจีนจึงไม่สามารถแยกความแตกต่างของเสียงตัวสะกด /ง/ กับ /น/ ได้ 3. นักศึกษาจีนเข้าใจผิดว่าหน่วยเสียง /ล/ และ /ร/ เป็นหน่วยเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน 4. นักศึกษาชาวจีนถ่ายเสียงที่ได้ยินกับรูปพยัญชนะตามการออกเสียงแบบตรงมาตราตัวสะกด 5. ภาษาจีนไม่มีพยัญชนะควบกล้ำ เมื่อเขียนคำควบกล้ำจึงถ่ายเสียงผิด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กาญจนา นาคสกุล. (2556). ระบบเสียงภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7 ฉบับแก้ไขปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนิกา คำพุฒ. (2545). การศึกษาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนวิชาเอกภาษาไทยชั้นปีที่ 4 สถาบันชนชาติยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2552). การวิจัยทางภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นวลทิพย์ เพิ่มเกษร. (2551). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารวรรณวิทัศน์, 8, 146-159.
โป๋, ฉุยฟาง. (2555). การใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีน: กรณีศึกษางานเขียนเรียงความของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน เมืองคุนหมิง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ไพบูลย์ มูลดี. (2546). การพัฒนาแผนการเรียนรู้และแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศิวริน แสงอาวุธ. (2560). วิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทย ในมณฑณยูนนาน ประเทศจีน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 133-144.
โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2559. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย”
Chunhua, T., Heimen, Z., Huan, D., Zhixin, Z., & Jiangqin, L. (2017). กลวิธีการตั้งชื่ออาหารจีน. (รายงานการศึกษาในรายวิชาภาคนิพนธ์, โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
Maojuan, F., Wenqian, C., Jia, L., Hongling, T., & Huimin, S. (2017). การวิเคราะห์โครงเรื่องย่อยเรื่องไซอิ๋วและคุณค่าที่มีต่อสังคมจีน. (รายงานการศึกษาในรายวิชาภาคนิพนธ์, โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
Ni, L., Shuang, L., Guomei, S., Chunfang, Z., Luping, S., & Chunxiao, W. (2017). กลวิธีการใช้ภาษาในวรรณกรรมเรื่องแก้วจอมซน. (รายงานการศึกษาในรายวิชาภาคนิพนธ์, โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
Xintao, H., Ran, X., Zhenjiao, Z., Xiaomei, C., & Junxian, G. (2017). การศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาจีน ของนักศึกษาเอกวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (รายงานการศึกษาในรายวิชาภาคนิพนธ์, โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
Yue, L., Hongmei, Q., Yuantao, Z., Jin, P., & Jiao, P. (2017). การเปรียบเทียบชื่อตัวละครในเรื่องไซอิ๋วฉบับภาษาไทยกับฉบับภาษาจีน. (รายงานการศึกษาในรายวิชาภาคนิพนธ์, โปรแกรมวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).