ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาษา ถือเป็นเรื่องสำคัญของมนุษย์ เป็นเครื่องมือ เป็นสื่อกลางของการรับรู้ทำความเข้าใจ และการแสดงออกเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจตรงกัน โดยอาศัยกระบวนการพัฒนาทางภาษา ซึ่งประกอบด้วย การรับข้อมูลและการส่งข้อมูลผ่านการคิดและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ภาษาถือเป็นรากฐานสำคัญและมีความจำเป็นที่สุดต่อการดำรงชีวิต การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ และการพัฒนาทางด้านสติปัญญา เนื่องจากมนุษย์ใช้ภาษาเพื่อสื่อสารความคิด ความต้องการของตนเองกับผู้อื่น บทความ ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา (Learning Language Theories) ผู้เขียนได้รวบรวบและนำเสนอทฤษฎีการรับรู้ภาษาและเรียนรู้ภาษาตั้งแต่ช่วงวัยเด็กที่เรียนรู้ภาษาแม่เป็นภาษาแรก จนกระทั่งเติบโตและเริ่มเรียนรู้ภาษาที่สอง หรือภาษาต่างประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจากการพัฒนาความสามารถทางภาษาของมนุษย์ถือได้ว่ามีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาความสามารถทางภาษาท้องถิ่น ภาษาของชาติ และภาษาต่างประเทศ อีกทั้งการเรียนรู้ภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในสังคมยุคปัจจุบัน และการเรียนภาษาใหม่สามารถเสริมสร้างชีวิตของมนุษย์ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น หากเราย้ายถิ่นฐานเพื่อการศึกษา หรือที่อยู่อาศัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ภาษาใหม่เพื่อการติดต่อสื่อสารและการดำรงชีวิต บทความ ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา (Learning Language Theories) จึงมีส่วนช่วยให้ทราบถึงกระบวนการเรียนรู้ภาษาพูดของมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็ก ช่วงแรกเกิดจนกระทั่งสามารถใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้ และเริ่มรับภาษาใหม่ ๆ เข้ามา ทำให้เห็นว่าการเรียนรู้ภาษาของเด็กและผู้ใหญ่นั้นจะต่างกัน และชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาของมนุษย์ว่าได้พัฒนาขึ้นตามทฤษฎีการเรียนภาษาดังกล่าว ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนภาษาเองได้เห็นถึงกระบวนการการเรียนรู้ภาษาที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยและวุฒิภาวะ และได้ตระหนักรู้ถึงความสามารถในการเรียนรู้ภายในตัว อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนภาษาที่จะสามารถสร้างเงื่อนไขและสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยพิจารณารูปแบบการสอนที่เหมาะสมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ตลอดจนผู้ที่สนใจเรียนภาษาก็สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ภาษาใหม่ที่ตนสนใจต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Wongsothorn, A. (1995). A guideline of creating language exams. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Chomsky, N. (1959). Reviews: Verbal behavior by B. F. Skinner. Language, 35(1), 26–58. doi:10.2307/411334, JSTOR 411334.
Dixon-Krauss, L. (1996). Vygotsky in the classroom. Mediated literacy instruction and assessment. White Plains, New York: Longman Publishers.
Krashen, S.D. (1981). Second Language Acquisition and Second Language Learning. Pergamon Press.
Office of the Royal Society of Thailand. (2010). Dictionary of linguistic vocabularies (Applied linguistics) Royal Society of Thailand Version. Bangkok: Royal Society of Thailand.
Plaengsorn, R. (2017). Thai language, as a foreign language, teachingology. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Wiboolyasarin, W. (2013). Innovation and instructional medias in Thai subject. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Wink, J., & Putney, L. (2002). A vision of Vygotsky. Boston, MA: Allyn & Bacon. Retrieved from http://www.joanwink.com/vygotsky.htm