การกล่อมเกลาทางการเมืองกับทัศนคติต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน: ศึกษากรณีประชาชนในชุมชนเคหะหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิญภัชร แก้วกัน
สมเกียรติ วันทะนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือ  1) เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของประชาชนในชุมชนเคหะหลักสี่  2) เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนในชุมชนเคหะหลักสี่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน  3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนคติของประชาชนในชุมชนเคหะหลักสี่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง  4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการกล่อมเกลาทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนกับทัศนคติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเคหะหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า การกล่อมเกลาทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับมาก ทัศนคติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ในระดับมากที่สุด การทดสอบสมมติฐานพบว่าประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และสถานภาพสมรสต่างกัน มีทัศนคติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าการกล่อมเกลาทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับต่ำและในทิศทางตรงกันข้าม เนื่องจากตัวแปรด้านการกล่อมเกลาทางการเมืองนั้น เป็นการพูดคุยในประเด็นบางเรื่องที่มีความคุ้นเคยและเป็นความสนใจเฉพาะกลุ่ม จึงส่งผลให้ทัศนคติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนเปลี่ยนแปลงไปไม่มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา จารวิจิต. (2553). การรับรู้ต่อสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กรณีศึกษา: ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).

นพนิธิ สุริยะ. (2550). สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

บรรพต วีระสัย. (2554). สังคมวิทยาการเมือง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ปริตตา เฉลิมเผ่า. (2558). สิทธิมนุษยชน. วารสารคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา: สหประชาชาติ, 6, 7-13.

รุ่งพงษ์ ชัยนาม. (2554). สิทธิมนุษยชน ประวัติศาสตร์ และภาษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร.

วีระ โรจายะ. (2554). กฎหมายสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: วิคตอรี่การพิมพ์.

สมฤทัย โทนสูงเนิน. (2555). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของชาวไทย กรณีศึกษา :ประชาชนเขตบางเขน แขวงอนุสาวรีย์ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต).

เสน่ห์ จามริก. (2552). สิทธิมนุษยชน: เกณฑ์คุณค่าและฐานความคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา และการพัฒนาสังคม.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2553). สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

Hyman, H. (1959). Political socialization: A study in the psychology of the political behavior. New York: The Free Press.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row Publications.