การศึกษากระบวนและวางระบบการผลิตชาเมี่ยงโดยประยุกต์ใช้แนวการผลิตแบบลีนของกลุ่มเกษตรกร ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อันสุดารี กันทะสอน
ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตเมี่ยง ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดการผลิตแบบลีน
ในการกำหนดกิจกรรมที่สร้างคุณค่ารวมทั้งแยกความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเมี่ยงและเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเมี่ยง ของกลุ่มผู้ผลิตชาเมี่ยงตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาเมี่ยง บ้านปางมะกล้วย จำนวน 43 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยในกลุ่มสมาชิก และการสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับผู้นำกลุ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลจากทั้ง 2 ทาง เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง (Structured Questionnaire) และการจดบันทึกจากการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic Induction) และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการใช้แผนผังสายธารแห่งคุณค่า ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิตเมี่ยง ผลการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของระบบการผลิตชาเมี่ยง แสดงให้เห็นความสูญเปล่าที่อยู่ในระบบโดยจะกำหนดตามประเภทของความสูญเปล่า ได้แก่ การมีของเสีย กระบวนการที่ไม่จำเป็น และการรอคอย และจากการพัฒนากระบวนการโดยใช้แนวคิดลีน พบว่าสามารถลดเวลารวมของทั้งกระบวนการจาก 121,819 นาที (2,030.32 ชั่วโมง) เหลือ 121,762 นาที (2,029.36 ชั่วโมง) และลดกำลังคนจาก 26 คน เหลือ 22 คน จะเห็นได้ว่าการประยุกต์ใช้การจัดการผังสายธารแห่งคุณค่าในอุตสาหกรรมการเกษตรทำให้เกิดประสิทธิภาพของกระบวนการเพิ่มขึ้นและใช้ได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สายลม สัมพันธ์เวชโสภา, พนม วิญญายอง, ธีรพงษ์ เทพกรณ์, และประภัสสร ดำรงกุล อิ้งวณิชยพันธ์. (2551). โครงการศึกษาศึกษาสถานภาพปัจจุบันของชาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Berg, B. L. & Lune, H. (2012). Qualitative research methods for the social sciences. (8th ed.). New York: Pearson Education.

Shingh, B., Garg, S. K. and Sharma, S. K. (2011). Value stream mapping: Literature review implications for Indian industry. An International Journal Advance Manufacturing Technology, 53, 799-809.

Creswell, J. W. (2013). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches. (3rd ed.). Thousand Oakes, CA: SAGE.

Daniel, T. J., Peter, H. & Nick, R. (1997). Lean logistics. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 27(3), 153-173.

Hines, P., and Rich, N. (1997). The seven value stream mapping tools. International Journal of Operation and Production Management, 17(1), 46-64.

LeCompte, M. D. & Schensul, J. J. (1999). Essential ethnographic methods: Observation, interview, and questionnaires. Walnut Creek, CA: Alta Mira Press.

Lewis, M. A. (2000). Lean production and sustainable competitive advantage. International Journal of Operations & Production Management, 20(8), 959-978.

Maxwell, J. A. (2013). Qualitative research design: An interactive approach. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE Publications.

Ohno, T. (2002). Toyota production system: Beyond large-scale production. Portland, OR: Productivity Press.

Ragsdale, T. C. (2007). Managerial decision modeling. Canada: Thomson Higher Education.

Rother, M., & Shook, J. (1999). Learning to see value stream mapping to create value and eliminate muda. Cambridge, MA: Lean Enterprise Institute.

Tarapituxwong, S., Tantanont, N. & Duangphastra, C. (2015). Value stream analysis: An approach to supply chain improvement in organics coffee chains. FEU Academic Review, 8(2), 128-145.

Taylor, D. H. (2005). Value chain analysis: An approach to supply chain improvement in agri-food chains. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 35(10), 744-761

Womack, J., and Jones, D. (1996). Lean thinking. New York: Simon and Schuster.