การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง คำราชาศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำราชาศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำราชาศัพท์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านวังแร่ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำราชาศัพท์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่องคำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ และ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่องคำราชาศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ Wilcoxon Signed-rank Test ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำราชาศัพท์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.80/83.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำราชาศัพท์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 14.20 คิดเป็นร้อยละ 47.33 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 25.50 คิดเป็นร้อยละ 85 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กนกวรรณ ชูทอง. (2550). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับใช้สอนอ่าน เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กันต์กนิษฐ์ นุ้ยสีรุ่ง. (2550). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่องคำยืมในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ).
เกื้อกูล เสพย์ธรรม. (2551). ราชาศัพท์. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
จิณฐภัศฌ์ เดชกุบ. (2558). ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำราชาศัพท์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคลองสงค์. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).
ชินวิทย์ จันทร์เพ็ญ. (2553). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำราชาศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และทะเนศ วงศ์นาม. (2559). การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) สำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 86-98.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนสิทธิ์ คณฑา. (2551). การศึกษาการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ลงเรียนในรายวิชาบัณฑิตอุดมคติไทย. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการเรียนรู้. วารสารวิจัย UTK ราชมงคลกรุงเทพฯ, 11(1), 85-94.
นิสากรณ์ ภวภูตานนท์, ภัทรียา ยิ้มแย้ม และลัดดาวรรณ แก้วเมฆ. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อซ่อมเสริม ความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร).
บัวทิพย์ ชูกลิ่น. (2550). การพัฒนาแบบฝึกการใช้คำราชาศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคิณีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ปฏิวัติ พุทธะศักดิ์เมธี. (2556). การเรียนรู้เชิงรุกที่ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์: กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านวังท่าดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต).
พรทิพย์ แฟงสุด. (2557). ราชาศัพท์ที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รดา วัฒนะนิรันดร์. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาการอ่าน เขียน คำอักษรนำ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
วัชรา เล่าเรียนดี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
เพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษา สำหรับศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562, 25 มีนาคม). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O–NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นจาก http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
เสาวรส นามมีบุญ. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาไทย เรื่อง หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อนุวัติ คูณแก้ว. (2554). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิ่มใจ คำมา. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำราชาศัพท์และทักษะการคิดวิเคราะห์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมโครงการ. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).