การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนของพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

Main Article Content

เสกสรรค์ ยะอนันต์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน พื้นที่ตำบลมะเขือแจ้  อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน  2) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคไข้เลือดออกในชุมชนที่พัฒนาขึ้น  วิธีการศึกษาใช้กระบวนการ A-I-C (Appreciation Influence Control) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบไปด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 42 คน  บุคลากรของเทศบาลตำบลมะเขือแจ้จำนวน 1 คน และบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลมะเขือแจ้จำนวน 5 คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ Chi-square Test และ ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk: RR)


ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ได้พัฒนาขึ้น มีการดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนการเกิดโรค  2) ระยะเมื่อเกิดโรค  และ 3) ระยะหลังการเกิดโรค  โดยมีกิจกรรมการดำเนินการที่เชื่อมโยงกัน 3 หน่วยงาน คือ 1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  และ 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ทั้งนี้การดำเนินการได้ตอบสนองต่อความคาดหวังในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน คือ 1) ต้องการให้คนในชุมชนมีความรู้ และให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค  2) ต้องการให้มีการประสานงานที่ดีและรวดเร็ว และ 3) ต้องการให้มีระบบติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง  และพบว่า รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนที่พัฒนาขึ้น มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-Value <0.002)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, วิบูลย์ วัฒนนามกุล, ฉันทนา ผดุงทศ, สุธีร์ รัตนะมงคลกุล, มธุรส ศิริสถิตย์กุล, สุภนัย ประเสริฐสุข,..., วลัยกัญญา พลาศรัย. (2558). ปฏิรูปสุขภาพ ปฏิรูปประชาธิปไตย: นโยบายสาธารณะ การมีส่วนร่วมกับประชาธิปไตยแบบร่วมไตร่ตรอง. กรุงเทพฯ: บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด.

จตุพร เลิศฤทธิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการเสริมสร้างสมรรถนะ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุขชุมชน, 1(1), 118-129

ชาญชัย เจริญสุข. (2562). ผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ 2559. วารสารควบคุมโรค, 45(1), 31-41.

ภูรีวรรธน์ โชคเกิด. (2561). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(3), 326-338.

เตือนใจ ลับโกษา, วิรัติ ปานศิลา และสมศักดิ์ ศรีภักดี. (2559). รูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพชุมชน ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 19(1), 44-54.

นพมาศ ศรีเพชรวรรณดี, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล และศิวพงษ์ คล่องพานิช. (2560). ถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษาการควบคุมและป้องกันโรคไขเลือดออกโดยชุมชนมีส่วนร่วม. พยาบาลสาร, 44(1), 117-127.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลมะเขือแจ้. (2561). รายงาน 506 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลมะเขือแจ้ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561. ลำพูน: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลมะเขือแจ้.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลมะเขือแจ้. (2562). รายงาน 506 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลมะเขือแจ้ ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. ลำพูน: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลมะเขือแจ้.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2561). สถานการณ์โรคไข้เลือดออกสัปดาห์ที่ 32 ปี 2561 ข้อมูล ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, สำนักระบาดวิทยา, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 – 12, และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. (2561). การพยากรณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2563). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2562 ข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2563. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, ธีรศักดิ์ พาจันทร์ และจิรพงศ์ วสุวิภา. (2562). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(1), 26-38.

อารี พุ่มประไวทย์. (2562). ผลการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับหมู่บ้าน. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 5(1), 43-52.