การประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตชาเมี่ยงในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์
เพียงตะวัน พลอาจ
พนิดา สัตโยภาส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบจากการใช้ประโยชน์จากแผนการวิจัยการอนุรักษ์พันธุ์ชาเมี่ยงในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการสอบถามผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนากลุ่มผู้ปลูกชาเมี่ยง  จำนวน 35 ราย การวิเคราะห์ใช้แบบจำลองการประเมินผลกระทบผ่านตัวชี้วัดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมดัชนีการประเมินผลกระทบจากการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตชาเมี่ยงในพื้นที่ตำบลป่าแป๋อยู่ในระดับปานกลาง ด้านเศรษฐกิจ พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของรายได้ของครัวเรือน และการเกิดการจ้างงาน อีกทั้งมีการลดลงของค่าใช้จ่ายของครัวเรือน และหนี้สินของชุมชน ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนมีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้า  ด้านสังคม พบว่า มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของชุมชน เช่น การพัฒนาถนน ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ มีการช่วยเหลือกันของคนในชุมชน การลดปัญหายาเสพติด และการลดปัญหาการใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างสิ้นเปลือง และด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัญหาที่จะทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลดลง ได้แก่ ปัญหาการเผาไหม้ในชุมชน ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหาเรื่องการจราจรติดขัด ปัญหากลิ่นเหม็นหรือเสียงรบกวน ปัญหามลพิษทางอากาศ และปัญหาเรื่องสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ถูกทำลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ อาระวิล, สุวรรณา ประณีตวตกุล และกัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2558). การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของงานวิจัยและพัฒนาการแก้ปัญหาโรคใบขาวอ้อย จังหวัดนครราชสีมา. แก่นเกษตร, 43(2), 297-308.

กัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2553). แนวคิดการประเมินมูลค่าผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์จากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นฤมล นันทรักษ์ และสุภาภร์ สมไพบูลย์. (2554). ประสานงานร้านค้า "ธุรกิจสร้างสรรค์ : จากท้องถิ่นสู่สากล" และการสาธิตประกวดการทำอาหารไทยในมหกรรมวิชาการ สกว.วิจัยตามรอยพระยุคลบาท: สร้างสรรค์ปัญญา เพื่อพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, สถาบันชา. (2551). พื้นที่ปลูกเมี่ยงของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://teainstitutemfu.com/main/blog

รื่นรมย์ เลิศลัทธภรณ์. (2558). การประเมินความคุ้มค่าและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์จากกากมันสำปะหลังเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพและเอทานอล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วิสาขา ภู่จินดา. (2557). ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลตอบแทนทางสังคมของการใช้พลังงานชีวมวลในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศศรส ใจจิตร์ นราภรณ์ เภาประเสริฐ และจุฑา พิชิตลำเค็ญ. (2560). การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของงานวิจัยด้านข้าวในประเทศไทย. แก่นเกษตร, 45(4), 613-624.

ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. (2547). การศึกษาผลสำเร็จของงานวิจัยเกษตรที่สูง โครงการหลวงในการพัฒนา เทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุวรรณา ประณีตวตกุล, กัมปนาท วิจิตรศรีกมล, จุฑามาศ เลิศอยู่สุข และบุษกร ก้อนทอง. (2561). เส้นทางสู่ผลกระทบจากงานวิจัยอ้อยและน้ำตาลในประเทศไทย. สมาคมนักวิจัย, 23(2), 45-58.

Alston, J. M., Norton, G. W., and Pardey, P. G. (1995). Science under scarcity: Principles and practice for agricultural research evaluation and priority setting. Ithaca: Cornell University Press.

Griffin, R. M. (2006). Echinochloa polystachya management in Louisiana rice. (PhD dissertation, Dpt Agron. Env. Management, Louisiana State University).

Haab, T. C., and McConnell, K. E. (2002). Valuing environmental and natural resources: The econometrics of non-market valuation. Northampton: Edward Elgar Publishing.

Nardo, M., Saisana, M., Saltelli, A., Tarantola, S., Hoffman, A., and Giovannini, E. (2008). Handbook on constructing composite indicators: Methodology and user guide. Paris: OECD Publishing.