การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการแสดงหุ่นกระบอกไทยและหุ่นกระบอกพม่า

Main Article Content

ศริยา หงษ์ยี่สิบเอ็ด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา วิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการแสดงหุ่นกระบอกไทยและหุ่นกระบอกพม่า และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและ
การสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์และการละครได้ในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และสื่อสารสนเทศ นำมาประกอบการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า หุ่นกระบอกไทยกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนายรื่น ซึ่งเลียนแบบมาจากหุ่นจีนไหหลำ ในขณะที่หุ่นกระบอกพม่าได้มีหลักฐานปรากฏเกี่ยวกับการแสดงหุ่นกระบอกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.1987 (ค.ศ.1444) สมัยพระเจ้านรปติ รูปแบบการแสดงแบ่งออกเป็น 9 ประเด็น ได้แก่ 1. นักแสดง ผู้เชิดของไทยหนึ่งคนสามารถเชิดตัวหุ่นได้หลายตัวแต่ผู้เชิดของพม่าหนึ่งคนสามารถเชิดหุ่นได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น 2. ตัวหุ่น ไทยจะมีเพียงศีรษะและลำตัว ไม่มีขา แต่หุ่นกระบอกพม่าจะมีร่างกายครบทุกส่วน แต่งกายเสมือนคนจริง 3. กลวิธีและเทคนิคลีลาการเชิดหุ่น ไทยจะเชิดด้วยวิธีการบังคับก้านไม้หรือไม้ตะเกียบที่ติดกับตัวหุ่นซึ่งบังคับจากด้านล่าง แต่พม่าจะใช้วิธีการเชิดด้วยการบังคับเชือกที่ร้อยติดกับตัวหุ่นซึ่งบังคับจากด้านบน 4. เรื่องที่นิยมแสดง หุ่นกระบอกไทยนิยมแสดงเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดี แต่พม่าจะนิยมเล่นเรื่องเกี่ยวกับนิทานชาดก ประวัติองค์พระเจดีย์ และประวัติศาสตร์ของพม่า 5. เครื่องดนตรี หุ่นกระบอกไทยและหุ่นกระบอกพม่าแตกต่างกันที่วงปี่พาทย์ของไทยจะใช้ปี่ แต่การแสดงของหุ่นกระบอกพม่าจะใช้ขลุ่ยแทนปี่ ไม่มีซออู้ กลองต๊อก กลองแต๋ว และม้าล่อ  6. โรงหุ่น โรงหุ่นกระบอกไทยจะมีขนาดเล็กกว่าโรงหุ่นกระบอกพม่า 7. ฉาก หุ่นกระบอกไทยจะมีประตูเข้าออกสองด้าน เน้นสีสันและลวดลายที่วิจิตรงดงาม แต่พม่าจะไม่มีประตูเข้าออกเป็นฉากผืนเดียว 8. โอกาสที่แสดง หุ่นกระบอกไทยจะแสดงในงานมหรสพต่าง ๆ แต่พม่าจะเล่นในงานมงคล งานเฉลิมฉลองพระธาตุ และเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ และ 9. ขนบธรรมเนียมและความเชื่อในการเชิดหุ่นจะแตกต่างกันไปตามหลักความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีของชาตินั้น ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). ตอนที่ 6 หุ่นกระบอกอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=aF3wZCN_EAw

ก่องแก้ว วีระจักษ์. (2551). หุ่นกระบอกไทย. สืบค้นจาก http://saranukromthai.or.th

จักรพันธุ์ โปษยกฤต. (2529). หุ่นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาสหประชาชาติ.

ชูศรี สกุลแก้ว. (2548). อนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ นางชูศรี (ชื้น) สกุลแก้ว. กรุงเทพฯ: ซุปเปอร์คิงส์การพิมพ์.

ณัฐวุฒิ กิ่งตระการ. (2553). นาฏยลีลาหุ่นกระบอกไทยสู่การออกแบบภายในศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ประภาศรี ดำสะอาด. (2542). หุ่นกระบอกพม่า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

ยูร กมลเสรีรัตน์. (2540). คุณยายหุ่นกระบอก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

วิชชุตา วุธาทิตย์. (2542). นาฏยศิลป์ในงานสมโภชพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ปรากฏบนภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วิลาวัณย์ เศวตเศรนี. (2549). การสร้างสรรค์ประดิษฐ์และการประยุกต์ศิลปะหุ่นไทยเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. (2563). ความเป็นมาการศิลปะแสดงหุ่นคน. สืบค้นจาก http://cul.hcu.ac.th/แสดงหุ่นคน

สมนึก ปฏิปทานนท์. (2545). เทคนิคการสอนและการจัดกิจกรรมกลุ่มวิชาสังคมศึกษาตาม หลักสูตรใหม่. วารสารครุศาสตร์, 30(3), 92-106.

สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2542). พม่าอ่านไทย: ประวัติศาสตร์และศิลปะไทยในทัศนะพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2560). องค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสาขาศิลปะการแสดง (การจัดเทศกาลหุ่นไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

หอม คลายานนท์. (2545). หลากรสเรื่องเมืองพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เอนก นาวิกมูล. (2519). หุ่นไทย หุ่นงานหลวง งานราษฎร์. วิทยาสาร, 27(28), 41-42.

WS Channel. (2562). Myanmar puppet show. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=PIfdHifwhwU