นิทานพื้นบ้านไทยและเมียนมา: การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องและกฎเกณฑ์นิทานพื้นบ้านของเอกเซล โอลริค
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องในนิทานพื้นบ้านไทยกับนิทานพื้นบ้านเมียนมาและ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบกฎเกณฑ์นิทานพื้นบ้านของเอกเซล โอลริค ในนิทานพื้นบ้านไทยกับนิทานพื้นบ้านเมียนมา การศึกษาครั้งนี้ได้คัดเลือกนิทานพื้นบ้านประเทศละ 100 เรื่อง วิเคราะห์กลวิธีการเล่าเรื่องและวิเคราะห์ตามกฎเกณฑ์นิทานพื้นบ้านของเอกเซล โอลริค เสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาและเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่อง พบว่านิทานพื้นบ้านไทยใช้กลวิธีการเล่านำเรื่องโดยไม่ใช้ข้อความกาลเวลานำและเล่าโดยเสนอบริบท ส่วนนิทานพื้นบ้านเมียนมาใช้กลวิธีการเล่านำเรื่องโดยใช้ข้อความกาลเวลานำและตรงกับแก่นของเรื่อง กลวิธีการเล่าสาระของเรื่องในนิทานพื้นบ้านของทั้งสองประเทศเป็นไปตามลำดับเวลาหรือตามปีปฏิทินเช่นเดียวกัน และกลวิธีการเล่าจบเรื่องมีความสอดคล้องกันคือ การเล่าจบเรื่องโดยไม่ระบุคติเตือนใจหรือคำสอนใด ๆ ในเรื่อง แต่จะแทรกอยู่ในเนื้อหาสาระของเรื่อง
2) ผลการศึกษาและเปรียบเทียบกฎเกณฑ์นิทานพื้นบ้านของเอกเซล โอลริค ตามกรอบการวิเคราะห์ 13 ข้อ ทั้งนิทานพื้นบ้านไทยและนิทานพื้นบ้านเมียนมา ตรงกับกฎเกณฑ์การวิเคราะห์ 12 ข้อ เรียงลำดับค่าร้อยละใกล้เคียงกันและมีความสอดคล้องกัน ระหว่างสองประเทศ ได้แก่ กฎของการเริ่มเรื่องและจบเรื่องพบมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กฎของโครงเรื่องเดียวและกฎของตัวละครสองตัวในฉากหนึ่ง รองลงมาได้แก่ กฎเอกภาพของโครงเรื่อง ตามลำดับ ส่วนสาระที่ไม่ปรากฏตามกฎเกณฑ์มีความสอดคล้องตรงกัน ได้แก่ กฎความสำคัญของตำแหน่งต้นกับตำแหน่งท้าย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กรองทอง จิรเดชากุล. (2560). วิจัยเรื่องนิทานพื้นบ้านไตยอง จังหวัดลำพูน: การวิเคราะห์ความเชื่อและปัจจัย 4 ของมนุษย์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).
กิ่งแก้ว เพ็ชรราช. (2543). วิเคราะห์นิทานลุ่มน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). นิทานพื้นบ้านในคติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
จงรักษ์ รัตนวิฑูรย์. (2560). วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้ง ในจังหวัดน่าน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2543). นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ประคอง นิมมานเหมินท์. (2545). นิทานและแนวคิดทฤษฎีของเอกเซล โอลริค. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์.
ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2524). วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประจักษ์ สายแสง. (2532). วรรณกรรมพื้นบ้านไทย. พิษณุโลก: สองแควการพิมพ์.
ปรีชา อุยตระกูล. (2545). นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน. นครราชสีมา: คุรุสภา.
วาสนา ชูรัตน์. (2556ก). นิทานพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
วาสนา ชูรัตน์. (2556ข). นิทานพื้นบ้านเมียนมา. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.
วิเชียร เกตุประทุม. (2535). นิทานพื้นบ้านภาคกลาง. กรุงเทพฯ: เสรีการพิมพ์.
วิรัช นิยมธรรม และอรนุช นิยมธรรม. (2551). เรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมเมียนมา. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย.
วิไลวรรณ เข้มขัน. (2558). ตำนานในเขตภาคเหนือ: การวิเคราะห์ตามทฤษฎีของเอกเซล โอลริค. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ศิราพร ฐิตะฐาน. (2524). หน่วยที่ 7: ลักษณะเนื้อหาวรรณกรรมไทยในเอกสารการสอนวิชาภาษาไทยคดีศึกษา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์การพิมพ์.
ส.พลายน้อย. (2555). นิทานพม่า. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
สนม ครุฑเมือง. (2534). วรรณกรรมนิทานพื้นบ้าน. พิษณุโลก: สองแควการพิมพ์.
สนม ครุฑเมือง. (2540). การสอนวิถีชีวิตประชาธิปไตยด้วยนิทานพื้นบ้านในเขตภาคเหนือตอนล่าง. พิษณุโลก: ตระกูลไทย.
สนม ครุฑเมือง. (2556). นิทานตำนานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สองแควการพิมพ์.
สนม ครุฑเมือง. (2557ก). นิทานประชาธิปไตย. พิษณุโลก: พิษณุโลกการพิมพ์ดอทคอม.
สนม ครุฑเมือง. (2557ข). นิทานพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
สมพงษ์ ช่วยเนียม. (2551). การเล่าเรื่องในนิทานพื้นบ้าน. สงขลา: อักษรสารการพิมพ์.
สวัสดิ์ จันทนี. (2539). นิทานชาวบ้านภาคใต้. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
สุกัญญา สุจฉายา. (2548). พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง: บทบาทของคติชนกับสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2535). ตำนานนิทานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุนันทา เทศสุข. (2559). การศึกษาอนุภาคนิทานเมียนมาจากผลงานการเรียบเรียงของ “นุ-หยี่ง”. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).
อรนุช นิยมธรรม. (2557). นิทานพื้นบ้านเมียนมา. พิษณุโลก: ภาษาตะวันออกคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
Hang, T. T. (2010). การวิเคราะห์นิทานเวียดนามตามทฤษฎีเอกเซล โอลริค. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).