ผลการใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เพลงไทยที่มีสาระทางวรรณคดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อารีรัตน์ เชื้ออ้วน
ยุพิน จันทร์เรือง
เบญจมาภรณ์ สุริยาวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เพลงไทยที่มีสาระทางวรรณคดี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เพลงไทยที่มีสาระทางวรรณคดี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 153 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม จังหวัดเชียงราย จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 10 แบบฝึก แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รื่นเริงเพลงวรรณคดี จำนวน 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า


  1. แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เพลงไทยที่มีสาระทางวรรณคดี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.41/81.06

  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยตาราง t-test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทักษะคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้เพลงไทยที่มีสาระทางวรรณคดีในระดับมาก (=3.98)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนน ทศานนท์. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้ผ่านเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีและ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

ชนมณี แก้วพิกุล. (2553). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย จากบทเพลงไทยลูกทุ่งสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

ชัยวัฒน์ เหล่าสืบสกุลไทย. (2551). เพลงเพื่อการสอนและกิจกรรมนันทนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธิจิตต์. (2556). ว่าด้วยดนตรีศึกษาและระบบการศึกษาไทย. สืบค้นจาก http://kotavaree.com/?p=215

ดิเรก พรสีมา. (2556). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/news/345042

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2551). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพ ฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนัลยา จินะแปง. (2562). การใช้เพลงประกอบชุดการสอนแบบบูรณาการ ในการสอน เรื่อง โวหารภาพพจน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวาวีวิทยาคม อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 9(2), 69-76.

รัศมี ประทุมมา. (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม. (2561). รายงานการประเมินคุณภาพนักเรียนโรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม. เชียงราย: พิทักษ์ชัยการพิมพ์.

สมนึก ดาดี. (2550). การพัฒนากระบวนการคิดโดยใช้บทเพลงเป็นสื่อ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสักสันเชียงใหม่วิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

สุวิทย์ มูลคํา. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อรพิน ภู่อร่าม. (2552). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้การสอนแบบโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

อนุวัติ คูณแก้ว. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกราวิทย์ ระบิน. (2559, พฤศจิกายน 28). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. เชียงใหม่นิวส์, น. 2.

Bloom, B. S. (1972). Taxonomy of educational objectives: Cognitive and affective domains hardcover. New York: David Mckay.