ภาพลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ในบทกวีนิพนธ์โศกาลัยเทิดพระเกียรติ

Main Article Content

ปภัสรา ผาคำ
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วรรณศิลป์ด้านการใช้ภาษาภาพพจน์และภาพลักษณ์ที่ปรากฏในบทกวีนิพนธ์โศกาลัยในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยรวบรวมจากหนังสือ วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์รายวัน ในช่วงการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 481 สำนวน ผลการวิจัยพบว่า


วรรณศิลป์ด้านการใช้ภาษาภาพพจน์เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ สัญลักษณ์ พบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 78.79 อุปลักษณ์ คิดเป็นร้อยละ 56.13 อุปมา คิดเป็นร้อยละ 48.64 อติพจน์ คิดเป็นร้อยละ 14.76  บุคลาธิษฐาน คิดเป็นร้อยละ 9.97 ปฏิปุจฉา คิดเป็นร้อยละ 4.98 ปฏิรูปพจน์ คิดเป็นร้อยละ 2.07 นามนัย คิดเป็น
ร้อยละ 1.24 ปฏิภาคพจน์ คิดเป็นร้อยละ 0.62 และสัทพจน์ พบน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.41 และจากการศึกษาภาพลักษณ์ที่ปรากฏในบทกวีนิพนธ์โศกาลัยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพัฒนาคุณภาพชีวิตและเป็นที่รักของราษฎร พบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 59.87  ภาพพระมหากษัตริย์ผู้เป็นนักปกครองและนักพัฒนาประเทศ คิดเป็นร้อยละ 27.85 ภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม คิดเป็นร้อยละ 18.71 ภาพพระมหากษัตริย์ผู้มีพระเมตตาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ และราษฎร คิดเป็นร้อยละ 12.47 ภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่ยอมรับของชาวไทยและต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 6.44 ภาพพระมหากษัตริย์ผู้มีพระอัจฉริยภาพ คิดเป็นร้อยละ 5.82  ภาพพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชจริยวัตรที่ดีงาม คิดเป็นร้อยละ 5.19 ภาพพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพระจักรพรรดิราชในยุคสมัยใหม่ คิดเป็นร้อยละ 1.45 ภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงกตัญญูกตเวทิตา คิดเป็นร้อยละ 0.41 และภาพพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ  0.20

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2560ก). 89 พรรษาแห่งภูมิพลังแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สุวรรณภูมิเฮอริเทจ.

กรมศิลปากร. (2560ข). พระเสด็จสู่ฟ้า ราษฎร์ล้วนอาลัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กัญดา ธรรมมงคล, คุณ. (2530). พระอัจฉริยภาพด้านภาษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ภาษาปริทัศน์, 8(1 พิเศษ), 1-34.

กุลทรัพย์ แก่นแม่นกิจ, คุณหญิง. (2560). อัครศิลปิน. ใน ศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ (บรรณาธิการ), 89 พรรษาแห่งภูมิพลังแผ่นดิน, (61). กรุงเทพฯ: สุวรรณภูมิเฮอริเทจ.

กุลนรี ราชปรีชา. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช, (10-11). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

เกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ท่านผู้หญิง. (2542). ทำเป็นธรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. (2560). นวมินทราศิรวาทราชสดุดี. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา. (2560). ร้อยมณีน้ำตา รำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560). นวมรัชขัตติยานุสรณ์: รวมผลงานรำลึกถึงพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์.

จตุพร มีสกุล. (2556). การศึกษา "วรรณคดีโศกาลัย" ในสมัยรัตนโกสินทร์ในฐานะวรรณคดีเฉพาะประเภท. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาชาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ชูชาติ ชุ่มสนิท. (2560). องค์อมรภูมิพลดลสวรรค์. ใน 89 พรรษาแห่งภูมิพลังแผ่นดิน, ใน ศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ (บรรณาธิการ), 89 พรรษาแห่งภูมิพลังแผ่นดิน, (89). กรุงเทพฯ: สุวรรณภูมิเฮอริเทจ.

ไชยปกรณ์ พุทธธีรภาพ. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, (27 - 28). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ดวงมน จิตร์จำนง. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช, (36). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ดุสิต คร่ำสุข. (2560). วิศวกรผดุงชาติทวยราษฎร์พ้นยากจน. ใน ศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ (บรรณาธิการ), 89 พรรษาแห่งภูมิพลังแผ่นดิน, (97). กรุงเทพฯ: สุวรรณภูมิเฮอริเทจ.

ณัฐวุฒิ แสงพันธ์. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช, (34). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล, บรรณาธิการ (2559). นิราศภูเขาทอง โดย สุนทรภู่ แปลโดย เสาวนีย์ นิวาศะบุตร. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ทศพล ศรีพุ่ม. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, (37). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ธนัญญา พิพิธวณิชการ. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, (40 - 41). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ธีรวัฒน์ กล่าวเกลี้ยง. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช, (43). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

นภาพร แสงสุข. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบภาพพจน์ที่ปรากฏในบทเพลงยอดนิยมระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาชาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).

ประยอม ซองทอง. (2560ก). น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ. ใน ศิริรัตน์ ทวีทรัพย์ (บรรณาธิการ), 89 พรรษาแห่งภูมิพลังแผ่นดิน, (139). กรุงเทพฯ: สุวรรณภูมิเฮอริเทจ.

ประยอม ซองทอง. (2560ข). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทมหาภูมิพลอดุลยเดช, (52). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

วรพล จรูญวณิชกุล. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช, (64). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

วิภาดา ทองวัฒน์. (2559). บทกวีนิพนธ์เรื่องปานมณีรุ้ง: การวิเคราะห์ภาพพจน์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สนม ครุฑเมือง. (2553). พระราชดำรัสในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ระหว่างปีพ.ศ. 2531 - 2542 : วิเคราะห์คุณธรรม 4 ประการ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2548). เจิมจันทน์กังสดาล: ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำพันเทพ ธารวณิชย์การ. (2560). ใน คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย, สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บรรณาธิการ), ร้อยมณีน้ำตารำลึกพระมหากรุณาธิคุณ โดยเสด็จพระราชกุศลในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, (91). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.