การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง โรงเรียนบ้านมนตรีวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง ประชากรในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 27 คน ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง จำนวน 3 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 21 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง จำนวน 10 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการใช้แบบฝึกทักษะ จากนั้นจึงทดสอบหลังเรียน (Posttest) แล้วสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
- แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 84.42/85.22 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 31.60 คิดเป็นร้อยละ 85.68
- แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ
ที่สะกดด้วยแม่กน แม่กด แม่กบ โดยใช้เพลง โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2555). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เกริก ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2550). นวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
ธัญวรัตน์ คำแหง. (2555). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านสะกดคำโดยใช้เพลงประกอบท่าทางวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช).
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเบื้องต้นสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.
ปริศนา พลหาญ. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะหลักเกณฑ์ทางภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ สำหรับ
ครูประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร).
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2556). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
ศรัญญา บุญทันตา. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ โรงเรียนบ้านโป่ง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ประสมสระ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).
สุนันทา สายแวว. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ประสมสระลดรูป-สระเปลี่ยนรูปที่สะกดตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
อรุณี วิริยะจิตรา. (2555). เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.