การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กม แม่กก แม่กด และแม่กบ สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

Yue Liu
ยุพิน จันทร์เรือง
ปฏิพันธ์ อุทยานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กม แม่กก แม่กด และแม่กบ สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ E1/E2 ของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กม แม่กก แม่กด และแม่กบ สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่มาจากวิทยาลัยครูอวี้ซี (Yuxi Normal University) ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาจากกลุ่มประชากรโดยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักศึกษาจีนที่มีความบกพร่องในการออกเสียงมาตราตัวสะกด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กม แม่กก แม่กด และแม่กบ จำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 1 ชุด 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด จากการวิเคราะห์สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิภาพ E1/E2 ของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กม แม่กก แม่กด และแม่กบ สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีค่าเท่ากับ 85.80/83.61 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กม แม่กก แม่กด และแม่กบ สำหรับนักศึกษาจีนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดแม่กม แม่กก แม่กด และแม่กบ สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.83, S.D. = 0.29)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำชัย ทองหล่อ. (2552). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท รวมสาส์น (1977) จำกัด.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: ทีคิวพี จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

นววรรณ พันธุเมธา. (2554). คู่มือการใช้ภาษาไทยแนวใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

บรรจบ พันธุเมธา. (2556). ลักษณะภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2553). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2554). หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ .

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. กรุงเทพฯ: ประสานการพิมพ์.

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2556). รายงานการวิจัย ภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติสาขาวิชาภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุนีย์ ลีลาพรพินิจ. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงในภาษาไทยกับภาษาจีน เพื่อประโยชนในการสอนภาษาไทยระดับพื้นฐานในฐานะภาษาต่างประเทศ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 33-46.

อรทัย ขันโท. (2557). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยแบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการสอนแบบทางตรง (Direct Instruction Model) สำหรับนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

อาภาภรณ์ ดิษฐเล็ก. (2556). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชาวจีน: กรณีศึกษานักเรียนวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการอาชีพมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์).

อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์. (2561). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา ภาษา: ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุษณี เสือจันทร์. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัดและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร)

Fang, Z. (2552). ชุดการสอนทักษะการพูดภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม สำหรับนักเรียนชาวจีน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Liao, Y. (2551). ภาษาไทยพื้นฐาน 1. มณฑลกว่างโจว, ประเทศจีน: บริษัท ซื่อ เจี้ย ถู ซู.

Yu, N. (2559). การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย มาตราตัวสะกดแม่กง แม่กก แม่กด สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).