ลักษณะความหมายของคำซ้อนในภาษาไทอาหม ภาษาไทลื้อ และภาษาลาว

Main Article Content

อนิสรา รัศมีเจริญ
ขนิษฐา ใจมโน
บุญเหลือ ใจมโน
สุชาดา เจียพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะความหมายของคำซ้อนในภาษาไทอาหม ภาษาไทลื้อ และภาษาลาวโดยรวบรวมคำซ้อนจากพจนานุกรม เอกสารทางประวัติศาสตร์ และวรรณกรรม จากนั้นนำไปวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดความสัมพันธ์ทางความหมายของคำ และเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ พร้อมแสดงสถิติประกอบผลการวิจัย


ผลการวิจัยพบคำซ้อนภาษาไทอาหม 181 คำ คำซ้อนภาษาไทลื้อ 264 คำ และคำซ้อนภาษาลาว
415 คำ ทั้งนี้มีการใช้คำที่มีความสัมพันธ์ทางความหมายมาซ้อนกัน 4 ลักษณะ คือ ความหมายพ้องกัน ความหมายวิภาคกัน ความหมายตรงข้ามกัน และความหมายเป็นลำดับ ลักษณะที่พบมากที่สุด คือ ความหมายพ้องกัน ทั้งนี้ภาษาไทอาหม กับภาษาไทลื้อ ใช้ความหมายพ้องกันแบบไม่สมบูรณ์มากที่สุด พบ 53 คำ คิดเป็นร้อยละ 29.28 และ127 คำ คิดเป็นร้อยละ 48.10 ตามลำดับ ขณะที่ภาษาลาวใช้ความหมายพ้องแบบสมบูรณ์มากที่สุด พบ 172 คำ โดยคิดเป็นร้อยละ 41.44 ลักษณะที่พบลำดับที่ 2 คือ ลักษณะความหมายวิภาค พบว่าทั้ง 3 ภาษา ใช้ความหมายวิภาคแบบลูกกลุ่มมากที่สุด โดยภาษาไทอาหม พบ 50 คำ คิดเป็นร้อยละ 27.62 ภาษาไทลื้อ 37 คำ คิดเป็นร้อยละ 14.01และภาษาลาว 34 คำ คิดเป็นร้อยละ 8.19 ลักษณะที่พบลำดับที่ 3 คือ ลักษณะความหมายตรงข้ามกัน โดยภาษาไทอาหมใช้ความหมายตรงข้ามแบบทวิภาค และตรงข้ามแบบเทียบเกณฑ์มากที่สุด พบ 6 คำ เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ3.31 ภาษาไทลื้อ และภาษาลาวมีการใช้ความหมายตรงข้ามแบบสัมพัทธ์มากที่สุด พบ 6 คำ คิดเป็น ร้อยละ 2.27และ 10 คำ คิดเป็นร้อยละ 2.40 ตามลำดับ ส่วนลักษณะความหมายเป็นลำดับพบน้อยที่สุด ภาษาไทอาหมจะใช้ความหมายเป็นลำดับที่มากที่สุด พบ 4 คำ คิดเป็นร้อยละ 2.20 ส่วนภาษาไทลื้อ และภาษาลาว ใช้ความหมายเป็นลำดับวงจรมากที่สุด พบ 5 คำ คิดเป็นร้อยละ 1.89 และ 3 คำ คิดเป็นร้อยละ 0.72 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ชัชวดี ศรลัมพ์, ดียู ศรีนราวัฒน์, ชลธิชา บำรุงรักษ์, บุญเรือง ชื่นสุวิมล, ทรงธรรม อินทจักร, นันทนา รณเกียรติ,…, วริษา กมลนาวิน. (2559). ภาษาและภาษาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทาคว่างแซ้ง และอ้ายคำ. (ผู้เรียบเรียง). (2544). เชื้อเครือเจ้าแสนหวี สิบสองพันนา. ปริวรรต และแปล โดย เรณู วิชาศิลป์. เชียงใหม่: ซิลคเวอร์มบุคส์.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2554). เจ้าเจืองหาญวีรบุรุษไทลื้อ ตำนาน มหากาพย์ พิธีกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ณ นคร. (2534). พจนานุกรมไทอาหม. กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้นติ้งเว็นเตอร์.

พ. พวาสะบา. (1993). เซียงเหมี้ยง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เวียงจันทน์: โรงพิมพ์สึกสา.

พรพิลาส วงศ์เจริญ. (2554). ความหมายในภาษาไทย. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์. (2525). พจนานุกรมภาษาไทยเปรียบเทียบกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ไทยลื้อไทยดำ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์. (2543). พจนานุกรม ลาว - ไทย - อังกฤษ Lao – Thai – English Dictionary ฉบับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มหาสิลา วีระวงส์. (2500). พงศาวดารลาว. เวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการ.

ราตรี ธันวารชร. (2534). การศึกษาการซ้อนคำในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

เรณู วิชาศิลป์. (2539). พงศาวดารไทอาหม Ahom Buranji เล่ม 1 - 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด.

วัลยา ช้างขวัญยืน, วิรุฬห์รัตน์ ไฉนงุ้น, อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล และลัตติยา อมรสมานกุล. (2549). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2 : การสร้างคำและการยืมคำ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

วิภาส โพธิแพทย์. (2561). ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hartman, J. (1980). A model for the alignment of dialects in southwestern tai. Journal of the Siam Society, 68(1), 72 – 86.

Lehrer, A. (1974). Semantic fields and lexical structure. Amsterdam: North – Holland Publisher.

Nida, E. A. (1975). Componential analysis of meaning. The Hague: Mouton.

Terwiel, B. J. and Wichasin, R. (1992). Tai Ahoms and the star three ritual texts to ward off danger. New York: Cornell.