คำเรียกสีในภาษาไทใหญ่

Main Article Content

สุชาดา เกียรติยุทธชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำเรียกสีพื้นฐานและคำเรียกสีไม่พื้นฐานตามแนวคิดของเบอร์ลินและเคย์ และวิเคราะห์สังคมและวัฒนธรรมจากคำเรียกสีของชาวไทใหญ่ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารภาษาไทใหญ่จำนวน 3 เล่ม และสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาชาวไทใหญ่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ภาษาไทใหญ่มีคำเรียกสีพื้นฐานจำนวน 9 คำ ได้แก่ สีขาว สีดำ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีชมพู สีม่วง สีน้ำเงิน และสีเทา ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีวิวัฒนาการของสีของเบอร์ลินและเคย์ เพราะมีวิวัฒนาการระยะที่ 7 แต่ไม่พบคำเรียกสีพื้นฐานระยะที่ 6 คือสีน้ำตาล กลวิธีการสร้างคำเรียกสีพื้นฐานคือการนำคำว่า “สี” มาประสมกับชื่อสีพื้นฐาน ส่วนกลวิธีการสร้างคำเรียกสีไม่พื้นฐานมี 4 วิธี ได้แก่ การใช้คำเรียกสิ่งของเฉพาะมาเป็นคำเรียกสี การประสมคำเรียกสีกับคำเรียกสี การใช้หน่วยขยายประกอบคำเรียกสี และการใช้คำเรียกสีพื้นฐานประสมกับคำบอกความเข้มสว่างของสี คำเรียกสีสะท้อนให้เห็นสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ 6 ด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สภาพสังคม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์กับกลุ่มวัฒนธรรม ความคิดความเชื่อ และโรคภัยไข้เจ็บ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัปปน์ติพัฒน์ เกียดนอก. (2556). คำเรียกสีในภาษาญัฮกุร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

กาญจนา นาคสกุล. (2528). คำเรียกสีในภาษาไทย. ภาษาและวรรณคดีไทย, 2(1), 43-52.

เฉินตง เหมย. (2557). การสร้างคำเรียกสีของชาวจีนที่มีช่วงอายุต่างกัน. วารสารช่อพะยอม 24(1), 25–34.

ชไมภัค เตชัสอนันต์. (2554). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีระ รุ่งธีระ. (2554). ภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรมจากคำเรียกสีภาษาฝรั่งเศส. วารสารอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 273-291.

ธีรพันธ์ เหลืองทองคำ. (2535). คำเรียกสีภาษาเย้า (เมี่ยน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล ศิริพันธุ์. (2554). คำเรียกสีและทัศนคติที่มีต่อสีของผู้พูดภาษาไทย กะเหรี่ยงโปว์ มอญ และขมุ ในอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นิจชยา มังกร. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียน ภาษาไทย–ไทยใหญ่ แบบใหม่. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.]

ประนุท วิชชุโรจน์. (2529). คำเรียกสีและการรับรู้สีของผู้พูดภาษาไทยถิ่นอุตรดิตถ์ที่ตำบลนาอิน อำเภอพิชัยจังหวัดอุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พรทิพย์ ไชยรัตน์. (2544). คำเรียกสีสะท้อนวัฒนธรรมและลักษณะของคนไทย. จุลสารลายไทยฉบับพิเศษวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม 2544, (กรกฎาคม), 24-27.

พระณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). คำเรียกสีในภาษาม้งขาว. มฉก.วิชาการ, 16(31), 77–88.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม. (2552). พจนานุกรมภาษาไทใหญ่–ไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 600 ปีพระญาติโลกราช 85 ปีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เรณู วิชาศิลป์. (2550). พื้นเมืองแสนหวี ฉบับหอคำเมืองไหญ. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2554). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัสวิณี สาและ. (2552). การศึกษาคำเรียกสีในภาษามลายูถิ่นปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล).

วิภาที ทิพย์คงคา. (2553). คำเรียกสีในภาษาไทยสมัยอยุธยา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศตนันท์ เชื้อมหาวัน. (2541). คำเรียกสีและการรับรู้สีของผู้พูดภาษาไทลื้อ ลัวะ ม้ง และกะเหรี่ยงในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศุภมาส เอ่งฉ้วน. (2543). คำเรียกสีและมโนทัศน์เรื่องสีของคนไทยสมัยสุโขทัยและสมัยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล. (2548). สีในภาษาเขมร: การรับรู้และโครงสร้างทางไวยากณ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาเขมร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สมภพ จงจิตต์โพธา. (2556). ทฤษฎีสี. กรุงเทพ: วาดศิลป์.

สาริสา อุ่นทานนท์. (2550). คำเรียกสีในภาษาลาว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 24(1), 33-46.

สุชาดา เกียรติยุทธชาติ. (2563). คำเรียกสีในภาษาไทใหญ่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น: ภาษาตระกูลไท. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). มนุษย์ ภาษา ความคิดและความเป็นจริง กว่าจะมาเป็นนักภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เพชรวิชิต. (2545). การสร้างคำเรียกสีในภาษาไทยและภาษาลาว. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

Berlin, B. and Kay, P. (1969). Basic color terms: Their universality and evolution. Berkeley: University of California Press.

Ratanakul, S. (1981). Sgaw karen color categories. Journal of the Siam Society, 4(1), 138-144.