ปมปัญหาในนวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรส

Main Article Content

สุชัญญา วงค์เวสช์
วรวรรธน์ ศรียาภัย
บุญยงค์ เกศเทศ
ศานติ ภักดีคำ

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง กลวิธีประกอบสร้างและแนวคิดการครองคู่ของตัวละครใน
นวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรส บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปมปัญหาที่ปรากฏในนวนิยายหลากหลายความนิยมทางเพศรส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นวนิยายวาย จำนวน 15 เรื่อง ดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์ตัวบทตามกรอบแนวคิดเรื่ององค์ประกอบของวรรณกรรมประเภทนวนิยายด้านโครงเรื่อง


            ผลการศึกษาพบว่าปมปัญหาที่ปรากฏในนวนิยายมี 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ปมปัญหาทางจิตของตัวละคร แบ่งเป็น ปมทางจิตที่เกิดจากครอบครัว ปมทางจิตที่เกิดจากเหตุการณ์ 2) ปมปัญหาเรื่องเพศ แบ่งเป็น บรรทัดฐานรักต่างเพศ ความสับสนทางเพศ 3) ปมปัญหาจากสังคม และ 4) ปมปัญหาจากตัวละคร แบ่งเป็น ปมปัญหาจากตัวละครคู่สัมพันธ์ ปมปัญหาจากตัวละครอื่น โดยปมปัญหาที่พบยังคงสะท้อนทัศนคติของสังคมในการยึดถือบรรทัดฐานรักต่างเพศที่มองว่าความสัมพันธ์ระหว่างคนเพศเดียวกัน เป็นเรื่องผิดปกติ ผู้แต่งจึงนำประเด็นดังกล่าวมาสร้างเหตุการณ์ให้ตัวละครต้องต่อสู้และพิสูจน์ว่า รักร่วมเพศหรือความรักในเพศเดียวกันสามารถเกิดขึ้นได้และเป็นปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ข่าวเช้าบันเทิง Springnews. (2560ก). ไขข้อข้องใจ “นิยายวาย” คืออะไร?. สืบค้นจาก http://spingnews.co th/2017/0/2

ข่าวเช้าบันเทิง Springnews. (2560ข). Y’s World. สืบค้นจาก http://www.youtube.com/watch?V=FBSRKDVbqal

จันทร์จิรา บุญประเสริฐ, บรรณาธิการ. (2554). ชีวิตที่ถูกละเมิดเรื่องเล่ากะเทย ทอม ดี้ หญิงรักหญิง ชายรักชาย และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์, (2553) .เอส-อี-เอ็กซ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง.

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2560). จูบ, เปลือย,ความรักในละครแนวหนุ่มน้อยรักกัน. ใน นัทธนัย ประสานนาม (บ.ก), เล่าเรื่อง เรื่องเล่า. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี: นาคร.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2555). การสร้างความฉลาดรู้เรื่องเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิตยา เข็มเพชร. (2535). วิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรมรักร่วมเพศชายของตัวละครเอกในนวนิยายตามหลักจิตวิทยา. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร).

บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). แลลอดวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.เฮาส์.

เปลื้อง ณ นคร. (2541). การประพันธ์และหนังสือพิมพ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). พระนครศรีอยุธยา: ไทยวัฒนาพานิช.

ร เรือในมหาสมุท. (2560). Good morning mr. bad love อรุณสวัสดิ์รักร้าย. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

ร เรือในมหาสมุท. (2562). Good night my last mistake ราตรีสวัสดิ์รักแท้. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2560). การอ่านวรรณกรรม Gen z. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

วรรณนะ หนูหมื่น. (2551). นิยายรักร่วมเพศ: ปัญหาและคุณค่าของมนุษย์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 35-37.

วิรัญชนีย์ ศรีสมาน. (2557). ตัวละครสวมบทบาทเพศตรงข้ามในนวนิยายโรมานซ์: ความสัมพันธ์กับเรื่องเพศในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วิไลวรรณ ศรีสงคราม, สุชัญญา รัตนสัญญา, โรจน์รวี พจน์พัฒนพล และพีรพล เทพประสิทธิ์. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

สมเกียรติ รักษ์มณี. (2558). การแต่งนวนิยาย. นนทบุรี: สัมปชัญญะ.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

Afterday. (2560). Special sound เกล้าตะวัน. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

Ailime13. (2560). Hide and seek เล่น ซ่อน รัก. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

Ailime13. (2561). Cigarettes after sex. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอเวอร์วาย.

Chiffon_cake. (2560). ดุจนกในกรงขัง. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

Huskyhund. (2561). ภูสอยเดือน 1. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

Karnsaii. (2560). เล่นเพื่อน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

Karnsaii. (2561). Return to love. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

Nirin. (2560). คิดมาก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอเวอร์วาย.

Pillow_mark. (2561). Warm eye ดวงตาของเธอ. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

Raccool. (2560). Mr. Gray. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

-West-. (2559). สู่กลางใจ. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

-West-. (2560ก). กลพยัคฆ์. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.

-West-. (2560ข). Candy. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.