นวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ

Main Article Content

ศิริวรรณ เอี่ยมศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านนวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุ ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยด้านความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของนวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุและความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้บริโภคและความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษานวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 5) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่เคยใช้บริการธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านสถิติ ด้วยสถิติเชิงพรรณนาในการแจกแจงความถี่ในรูปของ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ทั้งแต่ละด้านและโดยภาพรวมและใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านนวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านนวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยด้านนวัตกรรมการตลาดธุรกิจผู้ให้บริการขนส่งพัสดุส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางด้านการตลาด (X3) (β = .269) ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางกระบวนการจัดการ (X1) (β = .250) และปัจจัยด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (X2) (β = .175) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยด้านพฤติกรรมการซื้อส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมหลังการใช้บริการ (B5) (β = .363) ปัจจัยด้านการประเมินทางเลือก (B3) (β = .182) ปัจจัยด้านการตระหนักถึงปัญหา (B1) (β = .177) และปัจจัยด้านการค้นหาข้อมูล (B2) (β = .139) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร สุธีสิริมงคล. (2562). นวัตกรรมการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการห้างสรรพสินค้าซีคอนบางแค. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม).

จิโรจ กาญจนกุญชร. (2558). นวัตกรรมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของ ค่าย Intel และ AMD ของผู้บริโภควัยรุ่นตอนปลายถึงวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ณชัยศักดิ์ จุณณะปิยะ. (2555). อิทธิพลของกลยุทธ์การมุ่งเน้นตลาด นวัตกรรมทางการตลาด สภาพแวดล้อมทางการตลาดที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. (ดุษฏีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต, สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม).

ดาว ชุ่มตะขบ. (2563). เศรษฐกิจพอเพียงทางเลือกทางรอดฝ่าวิกฤตโควิด-19. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JMARD/article/download/243958/167237/

บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. (2563). แถลงข่าวเปิดกลยุทธ์ยกระดับองคกร ในโอกาสครบรอบ 137 ป กิจการไปรษณีย์ไทย. สืบค้นจาก https://file.thailandpost.com/upload/thp_direction.pdf

ประชุม สุวัตถี. (2552). การสำรวจด้วยตัวอย่าง: การชักตัวอย่างและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมและพัฒนาเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วุฒิกร ตุลาพันธุ์. (2560). ความภักดีในตราสินค้าและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้ากีฬาแบรนด์เกาหลี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สุทธิพร พ่วงพี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสินในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสงขลา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุภัชชา วิทยาคง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตราสินค้าของสายการบินต้นทุนต่ำของผู้ใช้บริการชาวไทย. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). Transport & Logistics 2020: อีไอซีวิเคราะห์ธุรกิจขนส่งพัสดุในปี 2020 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นจากแรงกดดันด้านราคา. สืบค้นจาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/6563/fjvy8kfdv8/EIC_Industry-review_parcel_20200120

Bourdeau, L. B. (2005). A new examination of service loyalty: Identification of the antecedents and outcomes of additional loyalty framework. (Ph.D. Dissertation, Business Administration, Florida University).

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed). New York, NY: Harper Collins.

Cochran, W.G. (1997). Sampling techniques. (3rd. ed.). New York: John Wiley & Sons. Inc.

Esichaikul, R. (2010). Information technology for tourism and hotel. Nonthaburi: Sukhothai Tammathirat Open University.

Gunday, G., Ulusoy, G. Kilic, K. and Alpkan, L. (2011). Effect of innovation types on firm performance. International Journal of Production Economics, 133(2), 662-676.

Marketeer Online. (2563). ขนส่งไทยติดจรวจ. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/169839

Naidoo, V. (2010). Firm survival through a crisis: The influence of market orientation, marketing innovation and business strategy. Industrial Marketing Management, 39(8), 1331-1320.

Oliver, R. L. (1999). Whence consumer loyalty. Journal of Marketing, 63(4), 33-34.

Schiffman, L. G., and Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior. (7th ed). Upper Saddle River, N.J: Prentice Hall.

Tsai, M. T., Tsai, C.L., and Chang, H.C. (2010). The effect of customer value, customer satisfaction, and switching costs on customer loyalty: An empirical study of hypermarkets in Taiwan. Social Behavior and Personality, 38(6), 729-740.