การบริหารจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครู ของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครู 2) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยการบริหารจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยการบริหารจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครู แบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครู แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครู และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent (Paired Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับครู ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 81.45 / 84.25 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยการบริหารจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตที่เรียนด้วยการบริหารจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.40, S.D.= 0.48)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านตามกรอบแนวคิดทีแพดและทฤษฎีขยายความคิดสำหรับครูมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). พันธกิจ และวิสัยทัศน์. สืบค้นจาก https://edu.cmru.ac.th/
web/mission/
ชนันภรณ์ อารีกุล. (2562). การศึกษาทางเลือก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2563). การศึกษาจากมุมมองความแตกต่างระหว่างบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ2ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). พันธกิจ และวิสัยทัศน์. สืบค้นจาก https://www.cmru.ac.th/วิสัยทัศน์พันธกิจ
พิมพ์ประภา พาลพ่าย. (2557). การใช้สื่อสังคมตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเรื่องภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมผลสำฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
รัฐพล ประดับเวทย์. (2559). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับนิสิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
วทัญญู สุวรรณประทีป. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐานร่วมกับปัญหาเป็นฐานและแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อนุวัติ คูณแก้ว. (2560). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Washington, DC: International Society for Technology in Education. Retrieved from https://joaomfjorge.files.wordpress.com/2015/03/flip-your-classroom.pdf
Kevin, K. (2009). Introduction to Instructional Design and the ADDIE model. http://www.e-arningguru.com/article/art2_1.htm