การพัฒนาบทเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาบทเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ
2.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ 3. ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อการอบรมภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ฯ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาด้วยวิธีการสุ่มจากการทำแบบสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความต้องการด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ บทเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ แบบทดสอบความรู้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยการใช้ t-test dependent (Paired Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนด้านการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่มี จำนวน 7 บทเรียน ได้แก่ 1) การใช้ภาษาไทยในการนำเที่ยว 2) การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยว 3) การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว 4) การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการแนะนำที่พัก 5) การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อ
การแนะนำร้านอาหาร 6) การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการแนะนำของที่ระลึก และ 7) การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการบริการด้านอื่น ๆ โดยบทเรียนมีประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 76.39/86.57
2. การใช้ทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ ของผู้เข้าร่วมอบรมหลังจากใช้แบบเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ สูงกว่าก่อนเข้าอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3. ด้านความพึงพอใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการพบว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการอบรมภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน ฯ ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
จิตตินันท์ เตชะคุปต์. (2555). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาการบริการหน่วยที่ 8-15. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบสื่อหรือประสิทธิภาพชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20
ณัฐพร แสงประดับ. (2557). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมที่เป็นผลจากการพัฒนาการท่องเที่ยว: ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ธญวรรณ ก๋าคำ. (2551). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับกลุ่มชุมชนธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารสารสนเทศ, 17(2), 61-70
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2556). ความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามประจำปีการศึกษา 2555. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประชาชาติ. (2562). ปักหมุดแม่วิน สัมผัสนาขั้นบันได แม็กเนตท่องเที่ยว “เชียงใหม่”. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-380703
วราพร พูลเกษ, วนุชชิดา ศุภัควนิช และธีติพล วิมุกตานนท์. (2558). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของชุมชนหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวบ้านโคกโก่ง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์, 4(2), 86-91.
ศราวณี แดงไสว. (2556). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสินเชื่อธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการตลาด,มหาวิทยาลัยสยาม).
ศิริลักษณ์ วีรทัต. (2558). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสร้างมัคคุเทศก์น้อยอาสาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของโรงเรียนบ้านทาป่าเปา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. (ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต,สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้)
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง. (2554). ข้อมูลทั่วไปของตำบลแม่วิน. สืบค้นจาก http://cmi.nfe.go.th/nfe/nfe_maewang/popup.php?name=knowledge1&file=p_readknowledge&id=40
สรฤทธ จันสุข. (2555). กองแผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/blogs/posts/328530
สินีนารถ ราชชมภู. (2557). แบบเรียนภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับชาวต่างชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 36(1), 67-78
สุริยน ตันตราจิณ. (2554). การมีส่วนร่วมคืออะไร. สืบค้นจาก https://region2.prd.go.th/th/
ewt_news.php?nid=9979&filename=ect54?nid=9979&filename=ect54
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น (2561-2564). สืบค้นจาก http://www.maewin.net/
Uploads/files/แผนพัฒนาท้องถิ่น%20(2561-2565).pdf
อลิษา วิชัยดิษฐ์. (2557). การวิเคราะห์ความต้องการทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของมัคคุเทศก์ชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย).
Zhang, L. (2557). แบบเรียนภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับนักศึกษาชาวจีน วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยยูนนานนอร์มอล สาธารณรัฐประชาชนจีน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).