การศึกษาเปรียบเทียบการออกเสียงพยัญชนะฐานริมฝีปากระหว่างภาษาจีนกับภาษาเกาหลี

Main Article Content

นภัสวรรณ สว่างจิต
วิสสุตา วาพัดไทย
จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการเปรียบเทียบการออกเสียงพยัญชนะฐานริมฝีปากระหว่างภาษาจีนกับภาษาเกาหลี  โดยผู้วิจัยเปรียบเทียบเสียงพยัญชนะฐานริมฝีปากภาษาจีนกับภาษาเกาหลีในปัจจุบัน จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับการออกเสียงภาษาจีนโบราณยุคกลาง (สุย-ซ่ง) เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาภาษาจีนและภาษาเกาหลี เข้าใจการออกเสียงของทั้งสองภาษาได้ชัดเจนมากขึ้น การศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาเปรียบเทียบจากคำศัพท์ในแบบเรียนภาษาเกาหลีชุด Seoul National University Korean Language เล่ม 1A-6B และอักขรานุกรมกว่างอวิ้น โดยจัดทำตารางเปรียบเทียบตามเสียงเพื่อให้เห็นการออกเสียงที่เหมือนหรือแตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. เสียงพยัญชนะ b /p/ ตรงกับอักษรจีนโบราณหมู่ 幫 /p/ 並 /b/ 滂 /p‘/ ออกเสียงสอดคล้องกับการออกเสียงพยัญชนะภาษาเกาหลี ㅂ /p/ แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากส่วนประกอบด้านข้างที่กำหนดเสียงอ่านของตัวอักษรจีน ทำให้เสียงพยัญชนะบางตัวเมื่อเข้าสู่ระบบเสียงภาษาเกาหลีอ่านออกเสียงพ่นลม ㅍ /p‘/ 2. เสียงพยัญชนะ p /p‘/ ตรงกับอักษรจีนโบราณหมู่ 滂 /p‘/ 並 /b/ ออกเสียงสอดคล้องกับการออกเสียงพยัญชนะภาษาเกาหลี ㅍ /p‘/ แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากส่วนประกอบด้านข้างที่กำหนดเสียงอ่านของตัวอักษรจีน ทำให้เสียงพยัญชนะบางตัวเมื่อเข้าสู่ระบบเสียงภาษาเกาหลีอ่านออกเสียงไม่พ่นลม ㅂ /p/ 3. เสียงพยัญชนะ m /m/ ตรงกับอักษรจีนโบราณหมู่ 明 โดยสมบูรณ์ 4. เสียงพยัญชนะ f /f/ ตรงกับอักษรจีนโบราณหมู่ 非 /pf/ 敷 /pf‘/ 奉 /bv/ แต่เนื่องจากในระบบเสียงภาษาเกาหลีไม่มีเสียงพยัญชนะฐานริมฝีปาก-ฟัน ดังนั้นเสียงพยัญชนะ f /f/ เมื่อเข้าสู่ระบบเสียงภาษาเกาหลีจะอ่านออกเสียง ㅂ /p/ และ ㅍ /p‘/

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์. (2559). ความหมายของสัทวิทยาภาษาจีนโบราณ. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 23(1), 22-38.

Dict.naver. (2022). Hanja dictionary. สืบค้นจาก https://hanja.dict.naver.com/

Jin, Y. (2008). A comparative study of the phonetics of Chinese characters between Korean and Chinese. (M.A., Linguistics and Applied Literature, Shaanxi Normal University).

Language Education Institute, Seoul National University. (2013a). Seoul National University Korean Language 1A. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2013b). Seoul National University Korean Language 1B. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2013c). Seoul National University Korean Language 2A. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2014). Seoul National University Korean Language 2B. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2015a). Seoul National University Korean Language 3A. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2015b). Seoul National University Korean Language 3B. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2015c). Seoul National University Korean Language 4A. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2015d). Seoul National University Korean Language 4B. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2012a). Seoul National University Korean Language 5A. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2012b). Seoul National University Korean Language 5B. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2015e). Seoul National University Korean Language 6A. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Language Education Institute, Seoul National University. (2015f). Seoul National University Korean Language 6B. Seoul: Twoponds Co., Ltd.

Lee, P. H. (2003). A history of Korean literature. New York: Cambridge University Press.

Ren, S. (2003). A comparative study between Korean and Chinese phonological structure. (Ph.D., Chinese Linguistics Tianjin Normal University).

Zdic.net. (2022) Chinese dictionary. สืบค้นจาก https://www.zdic.net/