การสะท้อนปัญหาสังคมจีนผ่านการดัดแปลงเรื่องสั้นสู่ภาพยนตร์ เซียงหนี่ว์เซียวเซียว

Main Article Content

ศัลยา เอ้งฉ้วน
กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ศึกษาการสะท้อนปัญหาสังคมจีนช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในยุคสาธารณรัฐจีน โดยใช้กรณีศึกษาจากภาพยนตร์ เรื่อง “เซียงหนี่ว์เซียวเซียว” ที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้น “เซียวเซียว” โดยนำแนวคิดการดัดแปลงนวนิยาย มาเป็นแนวทางในการศึกษา และใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาองค์ประกอบการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ และข้อมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมจีน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสั้น “เซียวเซียว” ของเสิ่นฉงเหวิน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เข้าใจลักษณะเด่นของภาพยนตร์ในฐานะภาพสะท้อนสังคม ที่เผยเรื่องราวชีวิตของตัวละครที่ต้องเผชิญในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่สังคมสมัยใหม่ จากการศึกษาพบว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีกลวิธีปรับองค์ประกอบการเล่าเรื่อง คือ 1. ใช้มิติสหบทในการปรับโครงเรื่องและเพิ่มตัวละคร โดยนำโครงเรื่องและตัวละครบางตอนมาจากเรื่องสั้น “เฉี่ยวซิ่วกับตงเซิง” สะท้อนมายาคติกับการเป็น “หญิง” ในสังคมศักดินาจีนที่ตกอยู่ภายใต้ระบบปิตาธิปไตย 2. เพิ่มฉากที่เป็นเอกลักษณ์ของเซียงซีและเหตุการณ์ต่าง ๆ เผยให้เห็นความผิดปรกติด้านบุคลิกภาพของตัวละคร ซึ่งมีสาเหตุมาจากวัฒนธรรม จารีต ประเพณีของสังคมศักดินาจีนที่กดทับ “ความเป็นมนุษย์” ส่งผลให้ตัวละครมีพฤติกรรมเก็บกดและมีความขัดแย้งภายในจิตใจ 3. ปรับเปลี่ยนมุมมองในการเล่าเรื่องให้เป็นแบบรู้รอบด้าน และมีการปิดเรื่องแบบพลิกความคาดหมายของผู้ชม โดยการปรับบทบาทของตัวละครให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ คือการให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิฐา เมธีรัตนไพศาล. (2557). “ห้องเหล็ก” จินตภาพในผลงานเรื่องตะโกนก้องและละล้าละลัง. วารสารจีนศึกษา, 7(1), 1-14.

โจว อี๋ว์ผิง (周妤枰). (2562). จากนวนิยายสู่ศิลปะภาพยนตร์ ศึกษาภาพยนตร์ของเซี่ยเฟย (小说转换为电影艺:谢飞电影研究). (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการละครและอุปรากรจีน มหาวิทยาลัยครูเซี่ยงไฮ้) (硕士学位论文,戏剧戏曲学,上海师范大学).

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2561). ประวัติศาสตร์จีน ค.ศ. 1900-1949. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ซา เป้ยอิ๋ง (沙贝瀛). (2564). ความเรียบง่ายกับการไร้อารยะของชีวิตในสังคมชนบทแบบดั้งเดิมของเสิ่นฉงเหวิน กรณีศึกษา เรื่องสั้น “เซียวเซียว” (沈从文笔下乡土社会原始生命的单纯与蒙昧:以《萧萧》为例). วารสารซินจี้สือ (新纪实), (21), 6-9.

ต้องรัก จิตบรรเทา. (2560). บุคลิกภาพตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(2), 275-285.

นัทธชัย ประสานนาม. (2564). เขียนด้วยเงา เล่าด้วยแสง: วรรณกรรมกับการดัดแปลงศึกษา. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

พัชนี ตั้งยืนยง. (2553). มรรคแห่งปัญญา: สตรีจีนกับการเข้าสู่การศึกษาสมัยใหม่. วารสารอักษรศาสตร์, 39(1),

-245.

ภาวิณี บุนนาค. (2563). รักนวลสงวลสิทธิ์. กรุงเทพฯ: มติชน.

ภูรดา เซี่ยงจ๊ง. (2557). บุคลิกภาพผิดปกติของตัวละครในวรรณกรรมจีนสมัยขบวนการวัฒนธรรมใหม่ (ค.ศ. 1918-1924). วารสารอักษรศาสตร์, 36(2), 179-203.

มิตเตอร์ รานา. (2562). ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.

ยศ สันตสมบัติ. (2559). ฟรอยด์และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์: จากความฝันสู่ทฤษฎีสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เย่ ซง. (2557). ความโดดเด่นของนวนิยายจีน เรื่อง เมืองชายแดน. วารสารพิฆเนศวร์สาร, 10(1), 93-100.

รัชกฤช วงษ์วิลาศ. (2563). ภาพแทน “ความเป็นอื่น” ของผู้หญิง: สำนึกสตรีกับความป่วยไข้ในวรรณกรรมจีนสมัยใหม่. วารสารจีนศึกษา, 13(1), 1-37.

รัชกฤช วงษ์วิลาศ, สุดาวดี ถาวงษ์กลาง, ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์, ณิชา โชควิญญู, กมลชนก โตสงวน, อรณิศา

อุรพีพัฒนพงศ์, …, อรณิช แซ่จัน. (2562). เกิดใหม่ในกองเพลิง. กรุงเทพฯ: มติชน.

ศิริพร ดาบเพชร. (2556). ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ จากคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สยง หงเย่ว์ และซู หย่ง (熊宏悦,苏勇). (2563). วิเคราะห์ความหมายโศกนาฏกรรมในภาพลักษณ์ของสตรีจาก “เซียวเซียว” กรณีศึกษาตัวละครเซียวเซียวกับนักเรียนหญิง (浅析《萧萧》中女性形象的悲剧意义:以人物萧萧和女学生为例). มาสเตอร์พิชส์ รีวิว (名作欣赏), (1), 99-101.

สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2555). ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ชวนอ่าน.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2562). อาชีวิกะในอินเดีย: ศึกษาวิถีชีวิตและแนวทางปรัชญาของอาชีวิกะ. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 41(1), 168-184.

หยางป๋อ. (2558). การเลือกสรรของยุคสมัยที่แตกต่างกัน-โดยวิเคราะห์การดัดแปลงบทละครโทรทัศน์หรือบทภาพยนตร์จากผลงานคลาสสิกวรรณกรรมสมัยใหม่ของจีน. วารสารจีนศึกษา, 8(2), 101-134.

หลัวฝาน และเฉินฟาง (罗璠,陈芳). (2560). วิเคราะห์ความงามของสตรีในนวนิยายของเสิ่นฉงเหวิน (试析沈 从文小说女性形象的审美意蕴). วารสารวิชาการสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ไห่หนาน (海南师范大学学报社会科学版), 30(4), 48-54.

หวัง หลินกัง (王林刚). (2552). บทกวีความทุกข์ของชีวิต กรณีศึกษา “เซียวเซียว” ของเสิ่นฉงเหวิน (苦难人生的诗意书写:读沈从文的《萧萧》). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยซานซีต้าถง (山西大同大学学报), 23(4), 62-64.