การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์

Main Article Content

ณพัชญาฐ์ สุขพัชราภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติที


ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) บทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ มีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.80 และ 81.17 ตามลำดับ  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์โดยใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่องานมัคคุเทศก์ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.01, S.D. = 0.90).

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณธรรศ บริบูรณ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้โดยการใช้วิจัยเป็นฐานในวิชาเคมีพื้นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปานวาส ประสาทศิลป์. (2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ “ภาษาอังกฤษเพื่อความพร้อมในการทำงาน” ด้วยเอ็ดโมดู สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2555). เอกสารประกอบการฝึกอบรม Social Media Learning สำหรับการเรียน การสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561).ผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักศะด้านการสื่อสารสารสนเทศด้วยกระบวนการห้องเรียนกลับด้าน. วารสารศึกษาศาสตร์, 20(3), 3-11.

ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชัน Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา).

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.

Mascolo, M.F. & Fischer, K. W. (2005). Constructivist theories. In Cambridge Encyclopedia of Child Development pp.49-63). Cambridge, England: Cambridge university Press.

Pham, T., Lai, P., Nguyen, V., & Nguyen, H. (2021). Online learning amid Covid-19 pandemic: Students’ experience and satisfaction. Journal of E-Learning and Knowledge Society, 17(1), 39-48.

Taylor, I., & Burgess.H. (1995). Orientation to self-directed Learning: Paradox or paradigm?. Studies in Higher Education, 20(1), 87-96.

Usmeldi, U., Amini, R., & Trisna, S. (2017). The development of research-based learning model with science, environment, technology, and society approaches to improve critical thinking of students. Journal Pendidikan IPA Indonesia, 6(2), 318-325.