ข้อผิดพลาดสำคัญที่เกิดจากการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนักศึกษาไทย

Main Article Content

สมหมาย โชติรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อผิดพลาดสำคัญที่เกิดขึ้นในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย  และ 2) ศึกษาความถี่ของการเกิดข้อผิดพลาดแต่ละชนิดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งกลุ่มประชากรของการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษเพื่องานบริการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จำนวน 32 คน โดยมีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลวิจัย คือ แบบทดสอบการแปลประโยคภาษาอังกฤษจำนวน 15 ประโยค จากผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่เกิดขึ้นประกอบด้วย 3 ประเภท คือ ไวยากรณ์และโครงสร้าง คำศัพท์และสำนวน และการขาดความรู้รอบตัวในเรื่องที่จะแปล ซึ่งความถี่ของข้อผิดพลาดด้านคำศัพท์และสำนวนเกิดขึ้นมากที่สุด และเมื่อพิจารณาลักษณะของข้อผิดพลาดด้านคำศัพท์และสำนวน พบว่า ข้อผิดพลาดในการแปลคำศัพท์ที่มีความหมายหลายนัยเกิดขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือ ข้อผิดพลาดในการแปลสำนวน และข้อผิดพลาดในการแปลคำกริยาคู่เกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนการแปลในปัจจุบัน ที่ควรมุ่งเน้นการสื่อความหมายที่ถูกต้องมากกว่ารักษาโครงสร้างของภาษาต้นฉบับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จามรี คีรีรัฐนิคม. (2548). การพัฒนาทักษะการแปลของนิสิตที่เรียนวิชาการแปลเบื้องต้น. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จิตสุดา ละอองผล. (2561). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและปัญหาในการแปลพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 383-400.

ดวงตา สุพล. (2545). กลวิธีและทฤษฎีการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพา เทพอัครพงศ์. (2544). การแปลเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีมา มัลลิกะมาส. (2556). การแปลกับการสอนภาษาอังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรชัย พรวิริยะกิจ และวรินทร แดนดี. (2558). ข้อผิดพลาดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 4(2), 16-24.

พิมพ์พันธุ์ เวสสะโกศล. (2546). การศึกษาสำรวจคุณสมบัติของนักแปล. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3(1), 79-94.

ภัทรา ปิณฑะแพทย์. (2565). ปัญหาการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย:กรณีศึกษานิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 208-229.

ศศิกร สุรมณี. (2555). การแปลเบื้องต้น. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สัญฉวี สายบัว. (2540). หลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี อาศัยราช ทัศนีย์ จันติยะ และจิราภรณ์ กาแก้ว. (2560). ปัญหาและกลวิธีการแปลบทความทางการศึกษาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษศึกษา. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 71-85.

เสรี สมชอบ. (2542). การแปลเบื้องต้น. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

Baker, M. (1992). In other words: A coursebook on translation. London & New York: Routledge.

Bell, R. T. (1991). Translation and translating: Theory and practice. London: Longman.

Catford, J. C. (1965). A linguistic theory of translation: An essay on applied linguistics. London: Oxford University Press.

Meetham, A. R. & Hudson, R. A. (1972). Encyclopedia in linguistics, information, and control. Oxford: Pergamon.

Newmark, P. (1995). A textbook of translation. London: Phonenix ELT.

Nida, E. H. (1963). Toward a science of translating. New York: E. J. Brill.

Charles, R. T. (1969). The identification of participants in a narrative. The Bible Translator, 20(3), 1-6.