รูปแบบการพัฒนายุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชุมชนเทศบาลหนองป่าครั่ง 2) สร้างหลักสูตรฝึกอบรม และ 3) สร้างรูปแบบการพัฒนายุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูในสถาบันการศึกษา และประชาชนในชุมชน จำนวน 50 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และเยาวชนในชุมชน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความต้องการรูปแบบกิจกรรม แบบทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ แบบสอบถามความสนใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และแบบประเมินผลหลักสูตรการฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของชุมชนเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง ประกอบด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่ขาดการนำเสนอชุมชนให้เป็นที่รับรู้ ควรมี “มัคคุเทศก์” ในการนำเสนอองค์ความรู้ของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วยแผนการฝึกอบรม จำนวน 5 หัวข้อ ได้แก่ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ หลักการมัคคุเทศก์ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การฝึกภาคสนาม และ กิจกรรมบทบาทสมมติ 3) รูปแบบการพัฒนายุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน ประกอบด้วย 7 กระบวนการ ได้แก่ (1) การศึกษาความต้องการ บริบทชุมชน และศักยภาพของชุมชน (2) การสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (3) การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ความต้องการรูปแบบกิจกรรม และความสนใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (4) การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม (5) การฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ชุมชน (6) การฝึกปฏิบัติและลงพื้นที่สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน และ (7) การจัดการแข่งขันบทบาทสมมติภาษาอังกฤษ เพื่อการเตรียมการเป็นมัคคุเทศก์ที่ดี สามารถให้ข้อมูลกับชาวไทยและชาวต่างชาติได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558 - 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม - ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/630
จังหวัดเชียงใหม่. (2562). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ. สืบค้นจาก https://www.chiangmai.go.th/managing/public/D2/2D11Sep2019090618.pdf
จุฑาทิพย์ สุทธิเทพ. (2559). การพัฒนายุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นของเยาวชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ไทยรัฐ ออนไลน์. (2564). ทักษะภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่อันดับ 100 จาก 112 ประเทศ และต่ำที่สุดในอาเซียน. สืบค้นจาก https://plus.thairath.co.th/topic/speak/100737
สำนักปลัดเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561-2565. เชียงใหม่: เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง.
พงษ์สันต์ ตันหยง, จันทิมา แสงเลิศอุทัย และวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2554). การพัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์ท้องถิ่นสำหรับสถานศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(2), 68-90.
พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551. (2551, 6 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 29ก, หน้า 2.
พรเทพ เจิมขุนทด และวิภาวดี ทวี. (2564). ประสิทธิผลการจัดโครงการพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14(1), 43-64.
พลอยระดา ภูมี, วรวัฒน์ ทิพจ้อย และณัฏฐนันท์ สุวรรณวงก์. (2559). การเสริมสร้างศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในพื้นที่ชุ่มหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(2), 249-260.
วิเชียร อินทรสมพันธ์, ศศิกัญชนา เย็นเอง, ธนภัทร จันทร์เจริญ, สิริกร โตสติ, และทิตยา สิทธิโสภาสกุล. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 155-166.
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา. (ม.ป.ป.). กระบวนการจัดการความรู้ เรื่อง การสร้างหลักสูตรและการทำงานด้านการจัดอบรม. สืบค้นจาก https://cttc.cpd.go.th/cttc6/images/KM/62/pdf_9372788262_2019-08-30_135634.pdf
สยาม ชุติมา, สมเกียรติ อินทสิงห์, นิธิดา อดิภัทรนันท์ และสุนีย์ เงินยวง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แนวคิดการสอนที่เน้นเนื้อหาร่วมกับประเด็นสาระในท้องถิ่น สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. วารสารบัณฑิตวิจัย, 13(1), 91-105.
สุธัมมะ ธรรมศักดิ์, นพพร วงศ์วิวัฒน์, และนัฏฐพงศ์ จำปาเกิดทรัพย์. (2558). การท่องเที่ยวที่ทั่วถึงและยั่งยืน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 52(1), 2-7.
สุวิภา จำปาวัลย์ และธันยา พรหมบุรมย์. (2558). แนวทางการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการท่องเที่ยว โดยชุมชนมีส่วนร่วมเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(1), 5-16.