ดนตรีล้านนากับการพัฒนาชุมชน

Main Article Content

เกริกพงศ์ ใจคำ
ปรเมศวร์ สรรพศรี
โอม จันเตยูร
พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องดนตรีล้านนากับการพัฒนาชุมชนฉบับนี้ เกิดขึ้นจากการความสนใจแนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการพัฒนาชุมชนและประโยชน์ของดนตรีในการพัฒนาชุมชน ซึ่งทั้งสองแนวคิดนี้มีความสัมพันธ์กันโดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาชุมชน ผู้เขียนได้นำเอาความสัมพันธ์ของแนวคิดทั้งสองมาสร้างกรอบแนวคิดในการใช้ดนตรีเพื่อการพัฒนาชุมชนขึ้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีล้านนาที่ปรากฏในงานเขียน งานวิจัย และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อใช้สนับสนุนแนวคิดและการนำเสนอแนวทางในการใช้ดนตรีล้านนาเพื่อพัฒนาชุมชน ผลจากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีล้านนาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ผู้เขียนได้พบความเป็นไปได้ของการใช้ดนตรีล้านนาเพื่อพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นมาแล้วในการศึกษาก่อนหน้านี้ โดยพบข้อมูลที่แสดงถึงบทบาทของดนตรีล้านนากับการพัฒนาชุมชนที่เกิดขึ้นใน 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการเมืองการปกครอง ผู้เขียนหวังว่าบทความวิชาการฉบับนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและวิชาการทางด้านดนตรีที่จะได้นำแนวคิดนี้ไปปรับใช้หรือพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2527). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

จักรพงษ์ คำบุญเรือง. (2561). กลองหลวงล้านนา สืนสานมรดกแห่งบรรพชน. สืบค้นจาก https://www.chiangmainews.

co.th/page/archives/855612/?fbclid=IwAR2y_mQY2HrXpr-LJhQYK9xwfp2FgOspr9-MeuboubOn1xzj

iLhPTrb-Do

จิตติ มงคลชัยอรัญญา. (2540). การศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .

โชติมา โชติกเสถียร. (2548). ศักยภาพการผลิตเพลงพื้นบ้านล้านนา กรณีศึกษา “พิณเปี๊ยะ” จังหวัดลำปาง.

(การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ณรงค์ สมิทธิธรรม. (2541). วงตกเส้ง: ดนตรีแห่ในวิถีชีวิตของชาวลำปาง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล).

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี.

บูรณพันธุ์ ใจหล้า. (2563). ภูมิปัญญาการสร้างเครื่องดนตรีล้านนาเพื่อสืบทอดการสร้างเครื่องดนตรีพื้นบ้าน และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 21(1), 45-61.

ประเวศ วสี. (2541). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย

อึ้งภากรณ์. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ. (2562). การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของดนตรีล้านนา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง).

เพียงแพน สรรพศรี, สกาวรุ้ง สายบุญมี และยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์. (2563). การพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรม ดนตรีพื้นบ้านล้านนา กรณีศึกษาชมรมดนตรีพื้นเมือง ชุมชนสันโค้งหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการเซนต์จอห์น, 23(33), 224-239.

มณี พยอมยงค์. (2529). ประเพณีสิบสองเดือนของล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.

มยุรี วัดแก้ว. (2535). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. เพชรบุรี: คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูเพชรบุรี.

รณชิต แม้นมาลัย. (2537). กลองหลวงล้านนา: ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและชาติพันธุ์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล).

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญ.

วนิดา ริกากรณ์. (2545). การดำรงอยู่ของการละเล่นพื้นบ้านซอล้านนา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ศุภนิจ ไชยวรรณ. (2547). กระบวนการสืบทอดเพลงซอพื้นบ้าน ของจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2525). การพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมาคมศิลปินขับซอล้านนา. (ม.ป.ป.). สมาชิกปัจจุบัน. สืบค้นจาก http://sorlanna.com/about

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2564). สื่อประชาสัมพันธ์ COVID-19 จังหวัดพะเยา (ซอพื้นบ้านคณะสวรรค์ล้านนา). สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=lv33ADNIOX0

Foster, D. (2010). Music and community development: Perspectives on relationship, roles and structures in music in community. (Master Thesis in Education, Victoria University).

PlayCore. (2020). Benefits of music on communities. สืบค้นจาก https://www.playcore.com/news/benefits-of-music-on-communities