ความเข้าใจในการใช้คำช่วยของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น

Main Article Content

อภิชาติ คานนิม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในการใช้คำช่วยของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น รวมถึงศึกษาลักษณะข้อผิดพลาดและสาเหตุในการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นผิดพลาดของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น โดยใช้แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการใช้คำช่วยแบบเลือกคำตอบจำนวน 42 ข้อ ประชากรเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
ราชนครินทร์ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา AGE211 ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 120 คน ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเป็นค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าประชากรมีระดับความเข้าใจในการใช้        คำช่วยคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.27 คำช่วยที่ประชากรทำคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 50 และน้อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ คำช่วย mo ที่ใช้แสดงความสอดคล้องกับนามวลีในเนื้อหาประโยคที่นำมาก่อน ซึ่งการใช้ต้องพิจารณาความหมายของประโยคที่นำมาก่อน จึงทำให้คำช่วย mo มีวิธีใช้ที่ยาก ถัดมาคือคำช่วย kara แสดงสถานที่ที่เคลื่อนที่จากมา พบว่ามีใช้ในเอกสารประกอบการสอนรายวิชา AGE211 ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร บทที่ 2 เพียงบทเดียว และไม่ได้นำมาใช้ในบทอื่นอีก และสุดท้ายคือคำช่วย to ที่ใช้เชื่อมคำนามแสดงสิ่งที่กล่าวถึงว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งคำช่วย to ในเอกสารประกอบการสอน มี 2 หน้าที่ และการใช้เชื่อมคำนามกับคำนามนี้มีในบทสุดท้ายของเอกสารประกอบการสอนเท่านั้นจึงอาจจะจดจำวิธีการใช้ได้ไม่ดีนัก จึงอาจสรุปได้ว่าคำช่วยที่ประชากรใช้สับสนมากที่สุดเป็น คำช่วยที่มีวิธีใช้ซับซ้อน ไม่มีใช้ในบทเรียนบ่อยครั้ง และมีวิธีใช้มากกว่า 1 วิธี


ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้คำช่วยคือ ประชากรมักเลือกใช้คำช่วยตามตำแหน่งในประโยคหรือจากคำศัพท์ที่ตนคุ้นเคยโดยเฉพาะภาคแสดงที่เป็นกริยา โดยไม่ได้พิจารณาความหมายของประโยคโดยรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก รุ่งกีรติกุล, ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ, รุ่งฤดี เลียวกิตติกุล, วันชัย สีลพัทธ์กุล, หทัยวรรณ เจียมกีรติกานนท์. (2563). ผลการเรียนรู้คำช่วยชี้สถานที่ (ni, de, o) และการนำไปประยุกต์ใช้ของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นผ่านกระบวนการเรียนการสอนแบบทางตรง. วารสารอักษรศาสตร์, 42(2), 279 – 303.

กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร. (2564). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา AGE211 ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร. ฉะเชิงเทรา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ณัฏฐิรา ทับทิม. (2557). ภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตาเกยิโร โทมีต้า. (2548). ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้ากรุ๊ป.

บุษบา บรรจงมณี, วันชัย สีลพัทธ์กุล, ประภา แสงทองสุข, นานาเอะ คุมาโนะ. (2564). คำช่วย ช่วยด้วย!. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ปราณี จงสุจริตธรรม. (2549). คำช่วยที่เป็นปัญหาสำหรับผู้สอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ, 3, 53-64.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2560). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ทั่วไป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุณีย์รัตน์ เนียรเจริญสุข, พัชราพร แก้วกฤษฎางค์ และสมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2553). โครงสร้างภาษาญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สร้อยสุดา ณ ระนอง (2546). การศึกษาประโยคผิดในเรียงความภาษาญี่ปุ่นขั้นต้นและขั้นกลางของนักศึกษาชาวไทย: ปัญหาการใช้คำช่วย. สืบค้นจาก https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/8713

สมเกียรติ เชวงกิจวณิช. (2557). การใช้คำช่วยชี้สถานที่ ni และ de ในภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย. วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 30(2), 75 – 93.

Corder, S.P. (1967). The significance of learners’ errors. International Review of Applied Linguistics, 5, 161-170.

Hironaka, T. & Fumiyasu, M. (2555). ปัญหาการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย-กรณีศึกษานักเรียนหลักสูตร Intensive Japanese Twinning Program ของมหาวิทยาลัยโตไกกับสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 13(23), 27-45.

Karnnim, A. (2013). Taijin no nihongogakushuusha no wa to ga no shuutoku ni tsuite. Kokubungakkaishi, 40, 13-25.

Kayama, Y. (2017). The acquisition of particles in Japanese by elementary-level learners: Effects of studying methods. Retrieved from https://www.cajle.info/publications/conference-proceedings/cajle2017-proceesings/

Lado, R. (1957). Linguistics across cultures: Applied linguistics and language teachers. Ann Arbor: University of Michigan Press.

Morita, Y. (1990). Nihogogaku to nihongokyooiku. Tokyo: Bonjinsha.

Richards, J.C. & Schmidt, R. (2002). Dictionary of language teaching and applied linguistics. (3rd ed.). London: Longman.

Selinker, L. (1972). Interlanguage. International Review of Applied Linguistics in Language Teaching, 10(3), 219-231.

Sompong, M. (2014). Error Analysis. Thammasat Review, 16(2), 109-127.

Tamamura, F. (2008). Nihongogaku o manabu hito no tame ni. Kyoto: Sekaishisosha.