พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมวัดศรีจันทร์ บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย กับการจัดการแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวของชุมชน

Main Article Content

ไทยโรจน์ พวงมณี
ณศิริ ศิริพริมา
คชสีห์ เจริญสุข
พชรมณ ใจงามดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมวัดศรีจันทร์  บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย และ 2) ศึกษาการจัดการพื้นที่การเรียนรู้และพื้นที่การท่องเที่ยววัดศรีจันทร์  บ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มการจัดการท่องเที่ยว นักวิชาการวัฒนธรรม เจ้าอาวาส ปราชญ์ชุมชน ตัวแทนชาวบ้าน ผู้ประกอบการที่พัก ผู้สื่อสารทางวัฒนธรรม อาจารย์ ตัวแทนเทศบาลตำบลนาอ้อ จำนวน 20 คน มีวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์ และประเด็นสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1) พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของวัดศรีจันทร์ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับหมู่บ้านนาอ้อ ราวปี พ.ศ. 2236 และมีการพัฒนาตามช่วงเวลาที่มาพร้อมวัตถุทางวัฒนธรรมที่อยู่ในวัดประกอบด้วยบ้านไทเลย พิพิธภัณฑ์ และส้วมฝรั่งเศส และ 2) การจัดการพื้นที่การเรียนรู้และพื้นที่การท่องเที่ยว มีรายละเอียดดังนี้ (1) การสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชน วัด และเทศบาลตำบลนาอ้อ (2) การวางระเบียบและเงื่อนไขการเข้าพื้นที่  (3) การดำเนินการจัดการพื้นที่การเรียนรู้ภายในวัดเป็นพื้นที่เปิดเพื่อการเรียนรู้บ้านไทเลยและส้วมฝรั่งเศส และพื้นที่ปิดเพื่อการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ และ (4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับการขับเคลื่อนและการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

กิตติศักดิ์ แสงทอง, พุธวิมล คชรัตน์, ทัศนีย์ ศรีราม, ณัฎฐิกา สาทิพจันทร์ และสุธารินี บุญกิจ. (2564). ประวัติศาสตร์ชุมชน: วัดสำโรงจากการบอกเล่า. วารสารศิลปศาสตร์, 12(2), 553-570.

คชสีห์ เจริญสุข. (2565). ภาพถ่ายประกอบบทความวิจัย. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จีระพันธ์ โชติวัฒนานุสรณ์, ธนกร เคหารมย์ และสุมลรัตน์ คุณทะวงษ์. (2557). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: บ้านนาอ้อ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. สืบค้นจาก http://jeerapanne.blogspot.com

ทองคำ ดวงขันเพ็ชร และพระเดชขจร ขนฺติธโร (ภูทิพย์). (2564). การจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนลุ่มน้ำโขง. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 44-58.

ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2555). ชุมชนโบราณบ้านนาอ้อ: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนโบราณสำคัญในลุ่มแม่น้ำเลย. วารสารพื้นถิ่นโขงชีมูล, 2(2), 45-69.

พระครูจริยาภิราม อคฺคจิตฺโต (รัศมี). (2564). แนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 122-140.

พระครูสิทธิธรรมาภรณ์ (สุวัฒน์ อภิวฑฺฒโน/เชิดพานิชย์). (2556). การศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีบุญข้าวจี่ และข้าวแดกงาของชาวเทศบาล ตำบลนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระครูสุนทรธรรมากร สุจิตโต (ชาลีคลี). (2565). วัด: แหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญของสังคมไทย. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 7(1), 53-74.

พระจำนงค์ผมไผ, ยุภาพร ยุภาศ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2563). วัดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเส้นทางลุ่มน้ำโขง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 159-170.

พระมหาอภัย ธิตวีริโย. (2561). มรดกวัฒนธรรมในฐานะศาสนสถานและศาสนวัตถุ: วิกฤติการณ์และการจัดการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(2), 553-570.

พระแมนรัตน์ จตฺตมโล, พระสมุทรวชิรโสภณ และพระครูวาทีวรวัฒน์. (2562). การพัฒนาวัดเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรม, 2(2), 24-33.

พระอธิการจรัล อภินนฺโท (สิงห์น้อย). (2562). การบริหารจัดการวัดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดลําพูน. วารสารการบริหารทองถิ่น, 12(1), 161-171.

ปรีดา พูนสิน. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนวัดโสมนัส. วารสารวิจัยและพัฒนา, 4(1), 55-70.

มิวเซี่ยมไทยแลนด์. (2563). พิพิธภัณฑ์ประภัศร์จันทโชติ วัดศรีจันทร์ อนุสรณ์วิจารณ์สังฆกิจ. สืบค้นจาก https://www.museumthailand.com/th/museum/Prapaschantarachoti-Museum-Wat-Sri-Chan

สมัย วรรณอุดร. (2559). คัมภีร์ใบลานกับกระบวนการสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านเอกสารโบราณวัดศรีจันทร์ ชุมชนบ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). (ม.ป.ป.). วิถีชุมชนสร้างเศรษฐกิจฐานราก: ท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: จู๊ซ อัพ มีเดีย แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น.

สุจินต์ เพชรดี. (2543). 300 ปีแห่งการตั้งถิ่นฐานบ้านนาอ้อ อำเภอเมือง จังหวัดเลย (2236-2543). เลย: ม.ป.พ.

สุนทรชัย ชอบยศ. (2562). แนวทางในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมโดยความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในท้องถิ่น: กรณีศึกษาการจัดการสิมและฮูปแต้ม ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(3), 55-70.

โสทรินทร์ โชคคติวัฒน์. (2565). รูปแบบการจัดการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในพุทธศาสนสถาน. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 2(3), 176-186.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2558). เรื่องเล่าชาวนาอ้อ: พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนนาอ้อและวิถีวัฒนธรรมชุมชนนาอ้อ. เลย: เมืองเลยการพิมพ์.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2562). ดินแดนแห่งวัฒนธรรมล้านช้าง “ชุมชนนาอ้อ”. สืบค้นจาก https://tis.dasta.or.th/dastatravel/loei-chumchon-naa-or