การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลาย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

เพียงจันทร์ โมฟเฟ็ทท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลาย 2) เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติการใช้กลวิธีการอ่านของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลาย 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกลวิธีการอ่านที่หลากหลาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จำนวน 36 คน ที่ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง 2) บทอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 8 บท 3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลาย จำนวน 30 ข้อ
4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนก่อนและหลังที่มีต่อระดับการปฏิบัติในการใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลาย
5) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อกลวิธีการอ่านที่หลากหลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ระดับของการใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลายของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนในทุกกลวิธี 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อกลวิธีการอ่านที่หลากหลาย ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีการอ่านที่หลากหลาย ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.scbfoundation.com/media_knowledge/unknown/292/5466

วิภาดา พูลศักดิ์วรสาร. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสำหรับผู้ใหญ่

เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วิสาข์ จัติวัตร์. (2543). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

นิธิมา สุธะพินธ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณแบบเน้นภาระงานร่วมกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร).

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี คณะครุศาสตร์. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (4 ปี)

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. (อัดสำเนา).

Abdullah, K. (1998). Critical reading skills: Some notes for teachers. REACT National Institute of Education (Singapore), 1998(1), 32-36

Almasi, J. F. (2003). Teaching srategies processes in reading (f. b. M. Pressley Ed.). New York: The Guilford Press.

Education First (EF). (2021). EF English proficiency index. Retrieved from https://www.ef.co.th/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2021/ef-epi-2021-english.pdf

Fadel, C. (2008). 21st century skills: How can you prepare students for the new global economy?. Retrieved from https://www.oecd.org/site/educeri21st /40756908.pdf

Grabe, W. (2009). Reading in a second language. UK: Cambridge University Press.

Groarke, L. & Tindale, C. W. (2004). Good reasoning matters’: A constructive approach to critical thinking. Toronto, New York: Oxford University Press.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2009). Models of teaching. (8th ed.). New York: Allyn & Bacon.

Kadir, N. A., Subki, R. N., Jamal, F. H. A., & Ism, J. (2014). The importance of teaching critical reading skills in

Malaysian reading classroom. In The 2014 WEI International Academic Conference Proceedings (p. 208-219). May 18-21, 2014. Bali, Indonesia: The West East Institute.

Kelly, M. (2020). Bloom's taxonomy questions: Question stems to help apply Bloom's taxonomy. Retrieved from https://www.thoughtco.com/blooms-taxonomy-questions-7598

Khabiri, M., & Pakzad, M. (2012). The effect of teaching critical reading strategies on EFL learners’ vocabulary retention. The Journal of Teaching Language Skills, 4(1), 73-106.

Li, H. (2010). Developing a hierarchical framework of critical reading proficiency. Chinese Journal of Applied Linguistics, 33(6), 40-54.

Luke, A. (2000). Critical Literacy in Australia: A Matter of Context and Standpoint. Journal of Adolescent & Adult Literacy, 43(5), 448-461.

Nunan, D. (2001). Second language teaching and learning. Beijing: Foreign Language Teaching and Research Press.

Oliveras, B., Marquez, C. & Sanmarti, N. (2011). The use of newspaper articles as a tool to develop critical thinking in science classes. International Journal of Science Education, 35(6), 1-21. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/239797685_The_Use_of_Newspaper_Articles_as_a_Tool_to_Develop_Critical_Thinking_in_Science_Classes

ParamitaDharmayanti, P. A., Tantra, D.K., & Artini, L., P. (2013). The effect of modified collaborative strategic reading and vocabulary mastery on the reading competency of the second semester students of English Education Study Program of Mahasaraswati Denpasar University. e-Journal Program Pascasarjana Universitas Pendidikan Ganesha Program Studi Pendidikan Bahasa Inggris, 2013(1). Retrieved from https://ejournal-pasca.undiksha.ac.id/index.php/jpbi/article/view/685/470

Pirozzi, R. (2003). Critical reading, critical thinking. (2nd ed.). New York: Longman.

Raphael, T. E., George, M., Weber, C. M., & Nies, A. (2009). Approaches to teaching reading comprehension. In Handbook of research on reading comprehension. New Jersey: Routledge Taylor & Francis Group.

Salisbury University. (2015). 7 critical reading strategies. Retrieved from http://www.salisbury.edu/counseling/new/7_

Sattar, S., & Salehi, H. (2014). The role of teaching reading strategies in enhancing reading comprehension. International Journal of Current Life Sciences, 4(11), 10922-10928.

Wallace, C. (2003). Critical reading in language education. New York: Palgrave Macmillan.

Yu, J. (2015). Analysis of critical reading strategies and its effect on college English reading. Theory and Practice in Language Studies, 5(1), 134-138.