การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพโดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน

Main Article Content

สุนทรีย์ รอดดิษฐ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการ 1) ศึกษาประวัติ วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ 2) ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และ 3) ศึกษาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพโดยชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชาวบ้านในชุมชน จำนวน 48 คน ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 16 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 32 คน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ จำนวน 4 คน นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว จำนวน 4 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ การระดมสมอง และการสนทนากลุ่ม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลศรีเทพมีประชากรที่เป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่เดิมและมีการอพยพมาจากทางภาคอีสาน มีสำเนียงการพูดทั้งภาษาไทย และภาษาอีสาน เนื่องจากมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน ชุมชนส่วนใหญ่จึงมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับสายน้ำ การทำการเกษตร ไร่นาสวนผสม การจับปลา การแปรรูปปลา การจักสานไม้ไผ่ การทอเสื่อกก มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ คือ พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ การเล่นนางสุ่ม การเล่นผีนางควาย


ชุมชนตำบลศรีเทพมีทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีศักยภาพมาก ทั้งกิจกรรมประเพณี ศาสนสถาน ทรัพยากรท่องเที่ยวทางด้านภูมิปัญญา อาหารประจำถิ่น และแหล่งจำหน่ายสินค้าชุมชน การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพจะต้องพิจารณาถึงศักยภาพความดึงดูดใจ ศักยภาพการรองรับ การบริหารจัดการ ชุมชนควรมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน ติดตาม ประเมินผลจากการวางแผนพัฒนา ก็จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2550). อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/19182-อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

กรมศิลปากร. (2563). อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. สืบค้นจาก https://www.finearts.go.th/main/view/8207-อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นจาก https://mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=12288

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม - ธันวาคม 2564. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/category/630

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 139-146.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2559). ศักยภาพและแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนลำปาง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(2), 1-11.

ประทีป พืชทองหลาง, เพราพิลาส ประสิทธิ์บุรีรักษ์ และญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง. (2561). วัดงาม นามมงคล: แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดนามมงคล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม, 7(1), 212-242.

ปรีดี โชติช่วง. (2560). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืน. ใน เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืน รุ่นที่ 2 จังหวัดเพชรบูรณ์, 7-9 กันยายน 2560 (น. 19). กรุงเทพฯ: ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาแห่งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข.9, 1(1), 234-259.

สถาพร เที่ยงธรรม. (2554). เมืองศรีเทพ: คุณค่าและความสำคัญทางวัฒนธรรม. วารสารศิลปวัฒนธรรม เพชรบุระ, 1(2), 66-76.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2550). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพทางวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

เสกสรรค์ สนวา, สุพัฒนา ศรีบุตรดี, พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ และนภัสภรณ์ ภูวตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2563). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 259-276.

Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text. (2nd ed.). Australia: Hodder Education.

Smith, M. K. (2003). Issues in cultural tourism studies. London: Routledge.