การสังเคราะห์บทความวิจัยด้านภาษาไทยและไทยศึกษาที่ได้ทุนวิจัยในฐานข้อมูล CNKI ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013-2020

Main Article Content

เพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และสรุปภาพรวมของบทความวิจัยด้านภาษาไทยและไทยศึกษา ในมุมของเนื้อหางานวิจัย พื้นที่ตีพิมพ์ มหาวิทยาลัย ช่วงปีที่เผยแพร่และประเภทของทุนวิจัย โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือบทความวิจัยที่ตีพิมพ์สืบเนื่องจากทุนวิจัยและเผยแพร่บนฐานข้อมูล CNKI (China National Knowledge Infrastructure) ในประเทศจีนช่วงปี ค.ศ. 2013-2020 จำนวน 197 บทความจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยสังเคราะห์งานวิจัยตามลักษณะสำคัญใน 5 ประเด็น คือ 1) เนื้อหางานวิจัย 2) พื้นที่ที่ตีพิมพ์ 3) มหาวิทยาลัยที่ตีพิมพ์ 4) ปีที่เผยแพร่ และ 5) ประเภทของทุนวิจัย จากนั้นนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณาวิเคราะห์และใช้ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบ โดยเทียบเป็นค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าบทความวิจัยด้านภาษาไทยที่ตีพิมพ์สืบเนื่องจากทุนวิจัยคิดเป็นร้อยละ 62.8 ด้านไทยศึกษาร้อยละ 37.2 เนื้อหาด้านภาษาไทยเป็นหัวข้อทางภาษาศาสตร์มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 55.65 รองลงมาคือด้านการเรียนการสอนภาษาไทยคิดเป็นร้อยละ 32.30 ขณะที่บทความด้านไทยศึกษาเป็นเรื่องการสอนภาษาจีนให้ชาวต่างชาติคิดเป็นร้อยละ 46.60 รองลงมาคืองานวิจัยด้านชาติพันธุ์ศึกษาคิดเป็นร้อยละ 13.70 มีบทความที่ได้รับทุนวิจัยมากกว่า 1 ประเภททั้งหมด 49 บทความ คิดเป็นร้อยละ 24.87 ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงคิดเป็นร้อยละ 41.12 รองลงมาคือมณฑลยูนนานคิดเป็นร้อยละ 27.41 มหาวิทยาลัยที่มีบทความตีพิมพ์จากทุนวิจัยมากที่สุดคือมหาวิทยาลัยไป๋เซ่อ รองลงมาคือมหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงคิดเป็นร้อยละ 29.63 และ 22.22 ตามลำดับ ช่วงปีที่เผยแพร่มากที่สุด คือปี ค.ศ. 2016 และปี ค.ศ. 2017 คิดเป็นร้อยละ 32.5 และ 40.3 ตามลำดับ โดยร้อยละของทุนวิจัยที่พบมากที่สุดคือทุนระดับมณฑลคิดเป็นร้อยละ 42.54 รองลงมาคือทุนระดับมหาวิทยาลัยคิดเป็นร้อยละ 28.73

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัสศรี จิรภาส. (2562). “ศึกษาไทย” และ “ไทยศึกษา” ในประเทศจีน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 38(2), 95-118.

สยงหลิง เฉิน และเพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว. (2565). ยุทธศาสตร์ BRI กับนโยบายการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยในประเทศจีน. สืบค้นจาก https://www.dpu.ac.th/dpurdi/analysis/32

สุรสิทธิ์ อมรวนิชศักดิ์. (2556). การสำรวจองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาในฐานข้อมูล CNKI ของจีน: กรณีศึกษาวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(6), 277-302.

อรกัญญา โรจนวานิชกิจ. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยเปรียบเทียบภาษาจีนและภาษาไทยในฐานข้อมูล CNKI ของประเทศจีน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 12(2), 147-157.

Bo, W. Z. (2007). The status of Thai language and culture major in Peking University. In Chinese non-universal foreign language teaching and research: Thai language inaugural conference, December 14-17, 2007 Guangdong University of Foreign Studies (p.81-88). China. Guangdong University of Foreign Studies.

Chen, X. L., Sikakaew, P., Wang, X. R. (2022). The application of Thai language teaching as China’s soft power in Yunnan and Guangxi provinces under the belt and road initiative. In Proceedings of the 7th RSU International Research Conference on Social Science and Humanities, Education, and Management, April 29, 2022 Online Conference via Zoom webinar program (p. 361-368). Thailand. Research Institute of Rangsit University.

Liu, Q. (2015). The Development and transformation of Chaoshan culture in Thai Society. Journal of Shantou University (Humanities & Social Sciences Edition), 31(4), 42-51.

Luo, S. N. (2013) An analysis of the similarity between Chinese and Thai tones. Journal of Yunnan Normal University (Teaching and Research on Chinese as a Foreign Language Edition), 11(1), 80-84.

Shang, G. W. (2016). An economics approach to linguistics landscape: Singapore, Malaysia and Thailand as a case. Chinese Journal of Language Policy and Planning, 4(4), 83-91.

Sikakaew, P., Thamsatitsuk, K., Mo, L. F., Huang, X. C., & Chen, X. L. (2022a). Synthesis of doctoral dissertation in Thai linguistic research on CNKI database during 2015-2020. Journal of China ASEAN Studies, 2(1), 27-34.

Sikakaew, P., Thamsatitsuk, K., Mo, L. F., Huang, X. C., & Chen, X. L. (2022b). The tendency analysis of Thai language research in China during 2013-2020: A study on CNKI database. In DPU International Conference on Business, Innovation and Social Sciences 2022, May 25-27, 2022 Dhurakij Pundit University (p. 166-175). Thailand. Chinese International College, Dhurakij Pundit University.

Yang, Y. M., and Zhao, X. Q. (2560). Language situations in the countries along the belt and road. Beijing: The commercial press.

Xu, R. J. and Sun, R. (2018). Thai grammar study in China from year 2004 to 2016. Cross Road Southeast Asian Studies, 6, 62-67.